การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • พิไลวรรณ แตงขาว
  • สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์

Keywords:

ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา, ประสิทธิผลองค์การ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, การบริหาร, ประกันคุณภาพการศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ในโมเดลโครงสร้างความมีประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียน จำนวน 182 โรงเรียน ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 548 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปและใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความมีประสิทธิผลของโรงเรียนและใช้การอภิปรายกลุ่ม เพื่อประเมินความเหมาะสมของของตัวบ่งชี้ในโมเดลโครงสร้างความมีประสิทธิผลของโรงเรียน  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่าน ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 28 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียน 118 ตัว สามารถเรียงลำดับค่ามากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ 19 ตัวบ่งชี้ 2) การจัดการเรียนการสอน 31 ตัวบ่งชี้ 3) นักเรียนมีความรับผิดชอบ 6 ตัวบ่งชี้ 4) ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ 24 ตัวบ่งชี้ 5) การมีความคาดหวังต่อนักเรียนในระดับสูง 7 ตัวบ่งชี้ 6) สภาพแวดล้อม 7 ตัวบ่งชี้ 7) การมีส่วนร่วม 9 ตัวบ่งชี้ 8) องค์การ15 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงโครงสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนค่าไค-แควร์ (X2) เท่ากับ 578.29 ค่า df เท่ากับ 213 ค่า p เท่ากับ 0.0000 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.056 ค่า GFI เท่ากับ 0.93 และค่า AGFI เท่ากับ 0.87 โมเดลโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการอภิปรายกลุ่มเพื่อประเมินความเหมาะสมของตัวบ่งชี้โมเดลโครงสร้างกับพบว่ามีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์           The purposes of this research were to develop effectiveness indicators for high competitive secondary schools under the Office of Basic Education Commission and to test Goodness of Fit Index of effectiveness indicators with empirical data. A group of 548 teachers from 182 high competitive secondary schools were selected by means of multi-stage sampling technique to participate in this study. The data were collected by rating-scale questionnaire and analyzed by descriptive statistics through SPSS for Windows, confirmatory factor analysis through LISREL and Focus Group Discussion.          The results of this research revealed that:          There were eight composite indicators with 118 indicators of school effectiveness of the high - competitive secondary schools as follows: 1) Learning Organization (19 indicators) 2) Learning and Teaching (31 indicators) 3) Student responsibility (6 indicators) 4) Professional Administrator (24 indicators) 5) Clear Goals and High Expectations (7 indicators) 6) School Climate (7 indicators) 7) Participations (9 indicators) and 8) Organization (15 indicators). The result of the structural validity test of the model of school effectiveness showed the empirical data Chi – Square (X2) = 578.29, df = 213, p = 0.0000, RMSEA = 0.056 GFI = 0.93, AGFI = 0.87 which meant the model was significantly consistent with the empirical data at .05 level. The result of the focus group discussion found that the validity tested structural model was consistent with the empirical data. 

Downloads