รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • จรุญ จับบัง
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
  • สมโภชน์ อเนกสุข

Keywords:

กระบวนการพัฒนาโรงเรียน, โรงเรียน, การบริหาร, ประกันคุณภาพการศึกษา, วิจัยปฏิบัติการ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วงจรปฏิบัติการของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท (Kemmis & McTaggart, 1988) กลุ่มที่เข้าร่วมปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 7 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน โดยศึกษาที่โรงเรียนบ้านคลองขวางบน จังหวัดปทุมธานี การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม                ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1) การพัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา 3) การเสริมสร้างความพร้อม และความเข้มแข็งของโรงเรียน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา โดยมีรูปแบบ คือการพัฒนาคนในด้านความชำนาญในทักษะด้านสารสนเทศ การสร้างขวัญและกำลังใจ และพัฒนาโครงสร้างการทำงานที่เหมาะสม การพัฒนาระบบงานในด้านการผลิตสื่อ การใช้แผนการสอนคละชั้น การนิเทศ และการส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรม การมีส่วนร่วมในด้านเครือข่ายชุมชน และทรัพยากร และการเสริมสร้างศักยภาพในด้านการหมุนเวียนการสอนของครู หมุนเวียนสถานที่และระบบดแู ลช่วยเหลอื นกั เรยี น จากรปู แบบทพี่ ฒั นาขนึ้ จะนำไปส่กู ารพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ด้าน คือคุณภาพครู คุณภาพการบริหารจัดการ คุณภาพนักเรียน และคุณภาพการเรียนการสอน ประสิทธิผลของรูปแบบทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาในด้านความรู้ความสามารถของครูความเข้าใจ พัฒนาการทำงาน มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีการใช้ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างหลากหลายเพิ่มมากขึ้นตามศักยภาพของตนและได้เรียนรู้ อย่างมีความสุขและเกิดความรักและความผูกพันโรงเรียนมากยิ่งขึ้น                The purpose of this study was to develop model for efficiency in education following a strategy to develop the small size school by participatory action research under the Office of the Basic Education Commission. This study was the participatory action research (PAR) based on the action research spiral of Kemmis and McTaggart (1988). The key participants of this study consisted of one administrator, seven teachers and seven staff from the basic education committee from Banklongquangbon School in Pathumthani province. Data were collected by document analysis, in-depth interview, focus group discussion, and participative observation.             The study revealed that to develop the model for efficiency in education following a strategy to develop the small size school by participatory action research under the Office of the Basic Education Commission consisted of four main strategies : 1) Developing the planning system and management. 2) Developing instructional system and the educational quality assurance. 3) Enhancing the readiness and strength of the school. 4) Enhancing the coordination from all stakeholders involved in education management. The model was developed through personal information skills, good reinforcement, and the development of appropriate working construction. Developing the working system involved creating and conducting instructional materials, using multigrade classrooms supervising and monitoring closely by the administrator and supporting teachers to attain the meeting. Enhancing coordinating involved community network and gathering resources. And enhancing the readiness and strength of the school should employ rotating teachers based on their capability and aptitude, improving buildings, and students’ assistant system. The model developed to help schools to develop quality of education by following strategies to develop the small size school by four aspects of quality of teachers, students, management and instructional system. The effectiveness of model could develop the school as follows: developing knowledge and abilities of teachers, the understand of working development, good management, the efficiency of internal and external resources utilization, and students have more opportunities to learn with full capabilities of themselves, happily learning, and more commitment to the school.

Downloads