สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ โรงเรียนมัธยมศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • อินที จันทร์ประเสริฐเหอ
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

สภาพ, ปัญหา, แนวทางพัฒนาการนิเทศ, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Abstract

          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กลุ่มตัวอย่าง เป็นศึกษานิเทศก์มัธยมศึกษาจำนวน 231 คนและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) ความเบี่ยงเบนมาตราฐาน (SD) ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของ LSD          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ สปป.ลาว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบสภาพการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ สปป.ลาว จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานของศึกษานิเทศก์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามภูมิภาคของประเทศโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ สปป.ลาว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางเปรียบเทียบปัญหาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ สปป.ลาว จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานของศึกษานิเทศก์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามภูมิภาคของประเทศโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางพัฒนาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ สปป.ลาว ควรศึกษาความต้องการของครูผู้สอนและสร้างศึกษานิเทศก์ภายในโรงเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือครู ควรจัดครูในโรงเรียนเป็นกลุ่มวิชา เช่น กลุ่มคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น แบ่งความรับผิดชอบผ่านความสมานฉันท์ภายในกลุ่ม สร้างแรงจูงใจเพื่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู ด้วยการจัดฝึกอบรม จัดประชุมวิชาการเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ จัดชุดฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการพัฒนาหลักสูตร ให้ครูสามารถพัฒนาด้วยตนเองได้และฝึกอบรมวิธีการวิจัยให้ครูผู้สอน           This study was designed to investigate situations, problems, and guided development for educational supervision of educational supervisors in secondary schools, Lao People’s Democratic Republic as classified by gender, qualification, experience, and region of supervisors. The study sample comprised 231 secondary school supervisors, and 10 experts of supervision. The research instruments were a rating-scale and an interviews guide. Data analysis was performed by using mean score, standard deviation, percentage, t-test analysis, one-way ANOVA and LSD.          The results of this research revealed that: Situations for educational supervision of supervisors in secondary schools, Lao People’s Democratic Republic as a whole and in particular aspect were at high level. When comparing variables regarding to gender, qualification, and experience of supervisors, it was found no significant difference. However a significant difference was detected at .05 level regarding to the region and particular aspect, except to the action research. Problems for educational supervision of supervisors in secondary schools, Lao People’s Democratic Republic as a whole and in particular aspect were at moderate level. When problems were compared regarding to gender, qualification, and experience of supervisors, non significant difference was found. However, differences were detected at .05 level regarding to region and particular aspect. Guided development for educational supervision should be developed according to need analysis of teachers and to create school supervisors within school. Schools should categorize teachers into academic groups such as mathematics, physics, linguistics, etc assign responsibility within the groups. Varieties of trainings should be conducted in order to develop teachers in areas of standard morals and ethics as well as capacity building. Teachers must also be equipped with ability of curriculum development and action research through self training kits.

Downloads