รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ปรีชา กระแสร์
  • คุณวุฒิ คนฉลาด
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

สมรรถนะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา/ ด้านบริหารสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์การบริหารการศึกษา การบริหารสถานศึกษา มีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับจำนวน 17 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำผลการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเป็นการยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะจึงนำร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรวจสอบรูปแบบด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน และศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสร้างเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อถามความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา จำนวน 328 คน          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 สมรรถนะ 14 สมรรถนะย่อย 71 พฤติกรรมดังนี้ 1) สมรรถนะด้านผู้นำ ประกอบด้วย 2 สมรรถนะคือ ภาวะผู้นำ 5 พฤติกรรม และลักษณะพิเศษส่วนตน 5 พฤติกรรม 2) สมรรถนะด้านองค์การ ประกอบด้วย 2 สมรรถนะคือ การวิเคราะห์องค์การ 3 พฤติกรรม และวัฒนธรรมองค์การ 4 พฤติกรรม 3) สมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ประกอบด้วย 4 สมรรถนะคือ ความรู้ทักษะประสบการณ์ด้านบริหาร 6 พฤติกรรม ความรู้ทักษะประสบการณ์ด้านวิชาการ 5 พฤติกรรม กระบวนการคิด 3 พฤติกรรม และการสื่อสาร 5 พฤติกรรม 4) สมรรถนะด้านบุคลากร ประกอบด้วย 4 สมรรถนะคือ การเป็นแบบอย่าง 9 พฤติกรรม การบริหารงานบุคคล 6 พฤติกรรม คุณธรรมจริยธรรม 6 พฤติกรรม และการให้บริการ 5 พฤติกรรม และ 5) สมรรถนะด้านการวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 2 สมรรถนะคือ การวางแผนกำหนดเป้าหมาย 5 พฤติกรรมการนิเทศติดตามผล 4 พฤติกรรม ในแต่ละพฤติกรรมมีระดับคุณภาพ 5 ระดับ ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า สมรรถนะด้านบุคลากรมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด สมรรถนะที่มีความเหมาะสมในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ สมรรถนะด้านผู้นำ สมรรถนะด้านการวางแผนกลยุทธ์ สมรรถนะด้านองค์การ และสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์           The purpose of this study was to develop the Competency model for school administrators under the Office of the Basic Education Commission. The samples used for developing the model included 17 experts in the area of educational administration/school administration who gained highly achieved experiences and acceptance, derived by means of purposive sampling. In-depth interview was used for collecting the data. The model was verified the appropriateness with 17 educational administration experts by using the focus group technique. The model for school administrators under the Office of the Basic Education Commission was tested the implementation appropriateness of the model by 328 school administrators with 5 levels rating scale questionnaire. The results revealed that the model for school administrators under the Office of the Basic Education Commission consisted of 5 competencies 14, sub-competencies and 71 behaviors as follows; 1) The leadership competency consisted of leadership 5 behaviors and personal characteristic 5 behaviors 2) The organizational competency consisted of organization analysis 3 behaviors and organization culture 4 behaviors 3) The knowledge skill and experiences competency consisted of administration skilled experience 6 behaviors, academic skilled experience 5 behaviors, thinking process 3 behaviors and communication 5 behaviors 4) The personnel competency consisted of role model 9 behaviors, human resource management 6 behaviors, morals and ethics 6 behaviors and service mind 5 behaviors. 5) The strategy planning competency consisted of planning and target indication 5 behaviors and monitoring supervision 4 behaviors. Each behaviors consisted of 5 proficiency levels. The school administrators have agreed that the personnel competency was appropriate at the highest level. In addition, the appropriateness was at high levels in areas of leadership competency, strategy and planning competency, organizational competency, knowledge skill and experiences competency respectively.

Downloads