การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ศิริลักษณ์ เส็งมี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
  • มนตรี แย้มกสิกร

Keywords:

รูปแบบ, การจัดการความรู้, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สพฐ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการวิจัย แบบผสม (mixed methods) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจงจำนวน 5 แห่งเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการร่างรูปแบบการจัดการความรู้ 2) การพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน 3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group) และ 4) การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติในสถานศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 5 คน และครูผู้สอนจำนวน 22 คน          ผลการวิจัยพบว่า          รูปแบบในการจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่ 1) สร้างวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 19 กิจกรรม 2) ปฏิบัติการจัดการความรู้จนเป็นนิสัย ประกอบด้วย 22 กิจกรรม 3) จัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 17 กิจกรรม 4) พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ประกอบด้วย 19 กิจกรรม 5) นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 17 กิจกรรม 6) บันทึกวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย 18 กิจกรรม และ 7) การเผยแพร่ความรู้ประกอบด้วย 14 กิจกรรมโดยทั้ง 7 ขั้นตอนดำเนินการใน 3 ระยะคือระยะก่อตัว (Knowledge Management Foundation) ระยะพัฒนา (Knowledge Management Circle) ระยะคุณภาพ (Knowledge Management Quality) ผลการประเมินความเหมาะสมและศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก อยู่ในระดับมากที่สุด           The purpose of this study was to develop knowledge a management model for the small size primary schools under the Office of Basic Education Commission by using a mixed methods research. The research process was done in four steps: 1) The conceptual framework was formed by doing documentary analysis on knowledge management and the existing situation and problems of knowledge management in five small size primary schools obtained from in-depth interview. The sample was selected by purposive sampling. 2) The model was developed by using the Delphi technique. 3) Focus group technique was used to assess the model appropriateness. And the last step was to determine the suitability of the model applied when it actual implementation in the primary schools. The questionnaire was used to collect the opinion of the teachers and administrators opinion in the five sampling schools.          The results showed that the model of knowledge management for small size primary schools consisted of seven steps: 1) knowledge vision, 2) knowledge habit, 3) systematic storing knowledge 4) exchanging knowledge, 5) knowledge utilization, 6) knowledge best practice, and 7) knowledge sharing. These steps will be managed in three phases as follow: knowledge management foundation phase, knowledge management circle phase and knowledge management quality phase. The results of model evaluation found that these seven components were appropriate to apply in the schools.

Downloads