การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลการบริหารตามบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • กมลวรรณ อนันต์
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • สุขุม มูลเมือง

Keywords:

ประสิทธิผล, การบริหารตามบริบท, การกระจายอำนาจ, การศึกษา, โรงเรียนมัธยมศึกษา, ตัวบ่งชี้, สพฐ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ที่แสดงประสิทธิผลการบริหารตามบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืมของโมเดลประสิทธิผลการบริหารตามบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน แกนนำการกระจายอำนาจทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 474 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว          ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบหลักที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิผลการบริหารตามบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบหลักประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 20 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ 105 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงโครงสร้างประสิทธิผลการบริหารตามบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน  และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานในการวิจัย พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01           The purposes of this research were to develop administrative effectiveness indicators in the context of decentralization for secondary school and to test the validity of the structural model of effectiveness indicators in the context of decentralization for secondary school with the empirical data. A group of 474 administrators from secondary school was selected to participate in this study by a multi-stage sampling technique. The data of the research were collected by rating scale questionnaire and analyzed by percentage, mean, standard deviation, chi-square, goodness of fit – (GFI) and adjusted goodness of fit – (AGFI).          The results of this research that the four main factors consisted of school in terms of academic management, budget management, personnel management and general management. The four factors had to be practiced via 20 variable minor factors and 105 administrative effectiveness indicators. The result of the structural validity test of the model of administrative effectiveness of decentralization for secondary school with the empirical data by using Chi-square, the Goodness of Fit Index and the Adjusted Goodness of Fit Index was found that the model was significantly consistent with empirical data at .01 level.

Downloads