การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา

Authors

  • ขวัญใจ ศรีทาพักตร์
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

ตัวบ่งชี้, สมรรถนะ, ครูผู้สอนคณิตศาสตร์, ระดับชั้นมัธยมศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาโดยแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ 2) ขั้นการสร้างรูปแบบสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ 3) ขั้นการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 540 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบหลักด้านหลักสูราและการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน การมีส่วนร่วม คุณลักษณะส่วนบุคคล วินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ และการพัฒนาตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามของตัวแปรแฝงที่สัมพันธ์กับสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาทั้ง 9 ตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง          ผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตัวบ่งชี้เดี่ยวทุกตัวเป็นตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนทั้งหมด 49 ตัวบ่งชี้ ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 9 ด้าน และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ของโมเดลตัวบ่งชี้รวมสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ น้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบย่อยทั้ง 49 ตัว มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ .331-.631 โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ครูสามารถใช้เทคโนโลยีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักสมรรถนะของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ทั้ง 9 ด้านนั้น มีค่าเป็นบวกและมีขนาดตั้งแต่ .796-.990           The purposes of this research were to develop the competency indicators of mathematic teachers at secondary level and to validate the coherence of competency indicators of the mathematic teachers in secondary level. The sample used consisted of 540 school administrators and secondary school teachers under the Office of Basic Education Commission, drawn by means of stratified random sampling. There were 9 latent variables, namely curriculum and application, learning process, material and resources, assessment, student development, cooperation, personal character, discipline, virtue, moral and ethics, and self-development. The research instrument was a set of questionnaires on the nine latent variables of mathematic teachers competency for secondary level. Data was analyzed by descriptive statistics, using SPSS, LISREL, 8.80 Student Edition to perform Confirmatory Factor Analysis (CFA) and second order Confirmatory Factor Analysis.          The results of Confirmatory Factor Analysis (CFA) showed that each all, 49 indicators indicated competency of mathematic teachers for secondary level with statistically significant at .01. It covered 9 main factors and the results of second order Confirmatory Factor Analysis of indicators competency of mathematic teachers secondary level, confirm the evident data, the weight of 49 sub-factors had positive value to .331-.631. The most value of sub-factor was that teacher could use technology to do learning and teaching activity. The weight value of 9 factors of main factors competency of the mathematic teachers had a size of .796-.990.

Downloads