การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Keywords:
พัฒนารูปแบบ, การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความคิดเห็น ในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 และขั้นตอนที่ 5 การสรุป และรายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การบริหารกลยุทธ์แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 มาตรฐาน และจุดเน้นการพัฒนา 2 จุดเน้น ส่วนที่ 2 โครงสร้างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยโครงสร้างระบบงานและเครือข่าย และส่วนที่ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ 2) การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ 3) การกำหนดตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานหลัก 4) การกำหนดวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ 5) การกำหนดเป้าหมาย 6) การปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอน 7) การบันทึกผลการปฏิบัติ 8) การวิเคราะห์ผล และ 9) การพัฒนาการปฏิบัติ และเผยแพร่ผลงาน ผลการวิจัย สรุปได้ว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ การบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management) โครงสร้างการบริหาร (Structure) และขั้นตอนการปฏิบัติ (Procedure and Practice) หรือตรงกับภาษาอังกฤษ SSP Model The purpose of this study was to develop a result-based management model in the educational service area office. The study consisted of five steps of model developing, Step one, definition of the research conceptual framework. Step two, construction of a result based management model for the educational service area office. Step three, verification and validation of the constructed model by experts for an appropriate and feasibility. Step four, verification and validation of the constructed model by administrators from 5 outstanding educational service area for a feasibility and Step five, conclusion and report of the appropriate model of result-based management in the educational service area office. Data were analyzed using mean, standard deviation and content analysis. The result of the study revealed that the result-based management model in the educational service area office after verification and validation by administrators from educational service area office for a feasibility showed that the model has 3 parts. Part one, the result-based strategic management composed of 5 educational service area standards and two development focuses. Part two, the structure of the result-based management composed of working system and networking. Part three, procedure and practice of the result-based management composed of 9 steps: 1) the analysis of vision, mission, objectivesand strategies, 2) defining achievement factors, 3) defining main output indicators, 4) defining methods and procedures for practice, 5) target setting, 6) implementing the defining methods and procedures, 7) recording results from practice, 8) analyzing the results and 9) developing practice and disseminating.It can be inferred from the research result that the appropriate model for the education service area office comprised of, Strategic Management (S), Structure (S) and Procedure and Practice (P) or to call “SSP model”.Downloads
Issue
Section
Articles