วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu
en-USวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6279
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความคิดเห็น ในด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 และขั้นตอนที่ 5 การสรุป และรายงานผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การบริหารกลยุทธ์แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 มาตรฐาน และจุดเน้นการพัฒนา 2 จุดเน้น ส่วนที่ 2 โครงสร้างการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยโครงสร้างระบบงานและเครือข่าย และส่วนที่ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ 2) การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ 3) การกำหนดตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานหลัก 4) การกำหนดวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ 5) การกำหนดเป้าหมาย 6) การปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอน 7) การบันทึกผลการปฏิบัติ 8) การวิเคราะห์ผล และ 9) การพัฒนาการปฏิบัติ และเผยแพร่ผลงาน<br /> ผลการวิจัย สรุปได้ว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ การบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management) โครงสร้างการบริหาร (Structure) และขั้นตอนการปฏิบัติ (Procedure and Practice) หรือตรงกับภาษาอังกฤษ SSP Model</p> <p> The purpose of this study was to develop a result-based management model in the educational service area office. The study consisted of five steps of model developing, Step one, definition of the research conceptual framework. Step two, construction of a result based management model for the educational service area office. Step three, verification and validation of the constructed model by experts for an appropriate and feasibility. Step four, verification and validation of the constructed model by administrators from 5 outstanding educational service area for a feasibility and Step five, conclusion and report of the appropriate model of result-based management in the educational service area office. Data were analyzed using mean, standard deviation and content analysis.<br /> The result of the study revealed that the result-based management model in the educational service area office after verification and validation by administrators from educational service area office for a feasibility showed that the model has 3 parts. Part one, the result-based strategic management composed of 5 educational service area standards and two development focuses. Part two, the structure of the result-based management composed of working system and networking. Part three, procedure and practice of the result-based management composed of 9 steps: 1) the analysis of vision, mission, objectives<br />and strategies, 2) defining achievement factors, 3) defining main output indicators, 4) defining methods and procedures for practice, 5) target setting, 6) implementing the defining methods and procedures, 7) recording results from practice, 8) analyzing the results and 9) developing practice and disseminating.<br />It can be inferred from the research result that the appropriate model for the education service area office comprised of, Strategic Management (S), Structure (S) and Procedure and Practice (P) or to call “SSP model”.</p>ยงยุทธ ทรัพย์เจริญเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรมสมุทร ชำนาญ
Copyright (c)
121113รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6280
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ<br />(Quantitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ (Need Assessment) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ (Design) และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ (Pilot Study) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามความต้องการจำเป็นคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าความถี่ (ƒ)<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. ระดับความต้องการจำเป็นคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์<br />เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากกลุ่มตัวอย่างหัวหน้าช่างอุตสาหกรรม<br />ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จำนวน 150 คน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่า<br />ความต้องการจำเป็นเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพด้านพฤติกรรมอุตสาหกรรม และด้านทักษะการใช้ชีวิต ตามลำดับ โดยงานวิจัยนี้มุ่งพัฒนารูปแบบ<br />การพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เฉพาะด้านที่มีความต้องการจำเป็นเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้าน คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ<br /> 2. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ที่พึงประสงค์ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย “คู่มือการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์<br />4 ช่าง...สร้างอนาคต ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สำหรับผู้จบการศึกษา<br />ช่างอุตสาหกรรม (กลุ่มปิโตรเคมี) ระดับอาชีวศึกษา” ประกอบด้วย 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 :<br />ช่าง...รักดี มีคำสอนของพ่อ หน่วยที่ 2 : ช่าง...ร่วมทำ นำองค์กร หน่วยที่ 3 : ช่าง...เรียนรู้ ครูต้นแบบ และหน่วยที่ 4 : ช่าง...สร้างสรรค์ หลักธรรมประจำใจ 3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาฯ พบว่า นักศึกษาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคระยอง แผนกวิชาปิโตรเคมี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน มีระดับความพึงพอใจในเชิงประจักษ์ สอดคล้องและมีความเหมาะสม เป็นไปได้</p> <p> This research is a Mixed-Method research between Quantitative Research and Qualitative Research with the objectives to study and develop The Development of Model for Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) to serve Eastern Economic Corridor Development (EEC). This research was conducted in 3 stages, Stage-1 (Need Assessment): To study the Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster), Stage-2 (Design): To develop The Development of Model for Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) and Stage-3 (Pilot Study): To study the result of using The Development of Model for Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) to serve Eastern Economic Corridor Development (EEC) with the rating scale of 5 levels, and In-depth Interview form, Statistics used in this research are percentage, mean (average), standard deviation (SD) and frequency value (ƒ).<br /> The research results show that<br /> 1. The necessary requirement level of characteristic of Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) to serve Eastern Economic Corridor Development (EEC) for 150 people after consideration in each category with the highest mean, in descending order, the first 3 orders are in the field of Virtues, Ethics, and Occupation Ethics, in the field of Industry behavior, and in the field Lifestyle skills, respectively. In which this research aims at The Development of Model for Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) to serve Eastern Economic Corridor Development (EEC) in a particular field that has the necessary highest mean, which is in the field of Virtues, Ethics, and Occupation Ethics.<br /> 2. The Development of Model for Desirable Characteristic of Industrial Vocation (Petrochemical Cluster) to serve Eastern Economic Corridor Development (EEC) consist of “The Develop of Desirable Characteristic of 4 Vocations guidebook …Future building, in the field of Virtues, Ethics, and Occupation Ethics for Industrial Vocation (Petrochemical Cluster), Vocational Level” composed of 4 units which are Unit 1: Vocation…Desired to be good, Having the King’s teachings, Unit 2: Vocation…Collaboration, Leading organization, Unit 3: Vocation...Learning, A model teacher, Unit 4: Vocation…Creative, To keep virtue philosophy in one mind.<br /> 3. Result from using the model, it is founded that, Industrial Vocational student from Rayong Technical College, Petrochemical Department, 2nd year Higher Vocational Study, Academic year of 2018, of 26 students, have the satisfactory level in empirically, concordantly, and appropriately/being possible.</p>วิธาน มณีงามสฎายุ ธีระวณิชตระกูลดุสิต ขาวเหลือง
Copyright (c)
1211431การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6281
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วม<br />ของประชาชนในการบริหารกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยดำเนินการประชาพิจารณ์ (Public Hearings) ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) ผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ได้รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) มีเป้าหมายชัดเจน (2) มีกิจกรรม (3) มีกลุ่มประชาชน (4) มีหน่วยงานของรัฐที่เชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วม ภายใต้กระบวนการ การบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (3) การนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (4) การประเมินแผนเชิงกลยุทธ์และมีดัชนีตัวชี้วัด 175 ตัวบ่งชี้<br /> 2) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเชิง<br />กลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนกลุ่มตัวอย่างทุกอาชีพในเมืองพัทยา จำนวน 1,100 คน พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วย <br />กับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษา เมืองพัทยา<br />จังหวัดชลบุรี ว่ามีความเหมาะสม</p> <p> The purposes of this study are 1) to develop a Model of Public Participation for Strategic Management of Education, Pattaya city, Chonburi province. Mixed method which applies Focus Group with 8 professionals, Delphi Technique with 3 groups of expert consisted of (1) 6 experts in academic zone (2) 6 experts in academic institutions and (3) 7 experts in educational participation. And 2) to evaluate a Model of Public Participation for Strategic Management of Education, Pattaya city, Chonburi province by applying Public<br />Hearings. The results show that<br /> 1) the development’s result of a Development Model of Public Participation for Strategic Management of Education, Pattaya city, Chonburi province is consisted of 4 parts which are (1) a clear goal (2) an activity (3) a group of people (4) governmental organizations. These parts also relate to 4 procedures of strategic management which are (1) environmental analysis (2) strategic planning (3) performing strategic plan (4) strategic plan’s evaluation. In total, there has 175 indexes.<br /> 2) the evaluation’s result of a Development Model of Public Participation for Strategic Management of Education, Pattaya city, Chonburi province by applying Public Hearings with 1,100 samples in every career group in Pattaya city. Result shows that more than 90% of people agree that a Development Model of Public Participation for Strategic Management of Education, Pattaya city, Chonburi province is appropriate.</p>สุปราณี จินดาสฎายุ ธีระวณิชตระกูลสุรีพร อนุศาสนันท์
Copyright (c)
1213248ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6282
<p> การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู 327 คน จาก 210 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบเติมคำ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ค่าจำแนกระหว่าง .38 - .77 ค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2555 โดยรวมพบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านเพื่อน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแต่ละด้านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านครอบครัว มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในทางบวกอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยในภาพรวมสามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของตัวพยากรณ์ปัจจัยด้านหลักสูตรกับตัวเกณฑ์มีค่าเท่ากับ .103 ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการพยากรณ์เท่ากับ 2.110 และพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณของตัวแปรพยากรณ์ ได้สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีที่สุดในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้</p> <p> Y = 30.231 + 3.277 (X<sub>1</sub>)</p> <p> This research aims to study the factors affective achievement of Prathomsuksa six students under the office of Khonkaen Primary Educational service area office II. A study of the relationship between the factors affective and for anticipate the achievement of Prathomsuksa six students under the office of Khonkaen primary Educational service area office II. The sample were 327 teachers under the office of Khonkaen Primary Educational service area office II. The district required to have random sample of 210 schools. The questionnaire used for collecting the data. It was four-lelvel rating scale questionnaire with reliability of .97. The statistics use in data analysis. The average, standard deviation. Pearson correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis.<br /> The major findings were as follows: 1) Level of achievement by the National Education Testing (O-NET) in 2012 as a whole were rated at low level. Considering the score level from the high level in three areas, learning area of health and physical. education, learning area of Thai language and learning area of career and technology 2) Level of factors affective achievements a whole were rated at high level. Found at high level in three areas: family factor, teacher factors and friends factor. 3) The director factor, teachers factor, curriculum factor, family factor were related to learning achievement and the overall positive relationship. Statistically significant at .05 level. 4) The factor predicted achievement as a whole found at the coefficient related to multiple equation of curriculum with the criterion were .103. The prediction deviation overall 2.110. The best regression of raw scores, thus</p> <p> Y = 30.231 + 3.277 (X<sub>1</sub>)</p>อัญชลี สกุลอินทร์ธร สุนทรายุทธชัยพจน์ รักงาม
Copyright (c)
1214960THE DEVELOPMENT ON INDICATORS FOR MONTESSORI MANAGEMENT PROGRAM IN THAI SCHOOLS
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6283
<p> Recalibration to apply the Montessori Method across the hundreds of new Montessori classroom flourishing in Thailand needs its own development of essential performance indicators. The hypothesis examined through the Association Montessori International Assessment Criteria’s on prepared adults, prepared learning environment, curriculum and leadership. The results validate the significant contribution of all factors. The prepared learning environment is the most crucial area with strongest agree on environment is aesthetic, well maintained, ordered and provides enticement to activities. The findings are evidence of the value on Montessori management program. The further research can be applied to different area such as private schools only or schools in neighboring country of the ASEAN region.</p>KANNEKAR BUTTPAKKANAT SOMPONGTAMCHAIPOT RAKNGAM
Copyright (c)
1216170ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6284
<p> การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำแนกตามประเภทและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 จำนวน 306 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ฉบับ ฉบับแรก สอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .20 - .58 และค่าความเชื่อมั่น .91 ฉบับที่ 2 สอบถามผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .28 - .60 และค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างวิเคราะห์เป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และสหสัมพันธ์อย่างง่าย<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับผลการปฏิบัติงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก<br /> 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามประเภทของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน จำแนกตามประเภทของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> This research aimed to study on the relationship between transformational Leadership of school administrators and work effectiveness of Primary School under Prachinburi Primary Educational Service Area Office II, as classify by the school type and school size. The sample consisted of 306 teachers of Primary School under the Prachinburi Primary Educational Service Area Office II derived by stratified random sampling. The research instruments were transformational leadership and work effectiveness of school principals which had the discrimination value of .20 - .58, .28 - .60 and the reliability value of .91, .91, respectively. The statistical devises used for analyzing the data were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and LSD, and simple correlation<br /> Research findings were:<br /> 1. The transformational leadership of school administrator and work effectiveness of Primary School under The Prachinburi Primary Educational Service Area Office II, as a whole, and by dimension were at high level.<br /> 2. The transformational leadership of school administrator as classified by, school type was found non statistically difference but school effectiveness, as classified by school size was found statistically significant difference at the .05 level.<br /> 3. The transformational leadership of school administrator and work effectiveness in school as classified by school size were statistically significant difference at the level of .05.<br /> 4. The transformational leadership of school administrators in all dimensions and work effectiveness of Primary School was statistically significant relationship at the level of .01.</p>วันชื่น ทองอยู่สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
Copyright (c)
1217184ปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/6285
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 1) ศึกษาระดับของความขัดแย้งในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในโรงเรียนกับปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม 4) สร้างสมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียน จากปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 320 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความขัดแย้งในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .42 -.78 ค่าความเชื่อมั่น 94 แบบสอบถามปัจจัยด้านพฤติกรรม มีค่าอำนาจจำแนก .42 -.63 ค่าความเชื่อมั่น .94 ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การมีค่าอำนาจจำแนก .38 - .69 ค่าความเชื่อมั่น .90 ปัจจัยด้านการสื่อสาร มีค่าอำนาจจำแนก .37 - .69 ค่าความเชื่อมั่น .89 และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีค่าอำนาจจำแนก .41 - .63 ค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ ปัจจัยด้าน่การสื่อสารและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำและปัจจัยด้านการเมืองในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความขัดแย้งในโรงเรียนในระดับค่อนข้างต่ำ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ และปัจจัยด้านการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ 4) สมการพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียนมีตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด 3 ปัจจัยเรียงตามลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำ ปัจจัยด้านการเมืองในองค์การ และปัจจัยด้านการสื่อสาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณสะสมทั้ง 3 ปัจจัย .165 สามารถพยากรณ์ความขัดแย้งในโรงเรียน ได้ร้อยละ 16.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y = 1.429 + .347 (<em>X<sub>1</sub></em>) + .208 (<em>X<sub>2</sub></em>) + .136 (<em>X<sub>3</sub></em>) และในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = .277 (<em>Z<sub>1</sub></em>) + .257 (<em>Z<sub>2</sub></em>) + .226 (<em>Z<sub>3</sub></em>)</p> <p> This research aimed to study of factors affecting school conflict under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office III, for 1) study the level of school conflict. 2) study of leadership behavior factor, organizational politic factor, communication factor, and environmental factor. 3) study of relationship between school conflict and leadership behavior factor, organizational politic factor, communication factor, and environmental factor. 4) construct equation for predicting school conflict from leadership behavior factor, organizational politic factor, communication factor, and environmental factor. The sample consisted of 320 teachers derived by stratified random sampling technique. Research instruments were 2 questionnaires; the first, concerned about school conflict by which the discriminative power ranged from .42 - .78 and reliability was .94. The second concerned about leadership behavior factor by which the discriminative power ranged from .42 - .63 and reliability was .94, organizational politic factor by which the discriminative power ranged from .38 - .69 and reliability was .90, communication factor by which the discriminative power ranged from .37 - .69 and reliability was .89 and environmental factor by which the discriminative power ranged from .41 - .63 and reliability was .96. Statistical devices used for data analysis were mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, Multiple Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression.<br /> The research result were; 1) The school conflict under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office III as a whole and by dimension were at high level 2) leadership behavior factor, organizational politic factor, communication factor, and environmental factor, as a whole and an by dimension, were at high level. 3) leadership behavior factor and organizational politic factor had positive correlation with school conflict at rather low level, while the environmental factors had positive correlation at low level, as well as the communication factor had negative correlation at low level. 4) The equation for predicting school conflict, as a whole, had the best three factors, in priority, as leadership behavior factor, organizational politics factor and communication factor. The cumulative coefficient of covariance of all three factors was .165 and predicted school conflict at 16.50 percent, significantly at .01 level. The equation for predicting school conflict; in raw data was Y = 1.429 + .347 (<em>X<sub>1</sub></em>) + .208 (<em>X<sub>2</sub></em>) + .136 (<em>X<sub>3</sub></em>) in standard score was Z = .277 (<em>Z<sub>1</sub></em>) +.257 (<em>Z<sub>2</sub></em>) + .226 (<em>Z<sub>3</sub></em>)</p>ฐิติชญา ชิณโชติสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
Copyright (c)
1218599