หลักสูตรพัฒนาความสามารถทางการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูประจำการ

Authors

  • สุชีรา มะหิเมือง

Keywords:

วิจัยชั้นเรียน, ครู, การฝึกอบรม, การพัฒนาบุคลากร

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางการวิจัยปฏิบัติการให้กับครุประจำการในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน 51 คน ของ 5 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายมีขนาดตามสัดส่วนประชากรครูของแต่ละโรงเรียน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นระยะพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการที่บูรณาการกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และระยะศึกษาผลการใช้หลักสูตรด้วยวิธีวิจัยกึ่งมดลองในบริบทจริงของโรงเรียนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน ผลการวิจัยระยะพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า หลักสูตรที่ร่างขึ้นมีองค์ประกอบตามโครงสร้าง ประกอบด้วย (1)วัตถุประสงค์ 3 ข้อ มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ทักษาพื้นฐานทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการเสริมสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน (2) ขอบข่าเนื้อหาและกิจกรรมการอบรม เชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และการเขียนรายงานอย่างเป็นทางการ (3) ระยะเวลาฝึกอบรม 30 ชั่วโมง (4) สื่อและการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชุดเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6 เรื่อง เอกสารประกอบการบรรยาย ใบงานประกอบกิจกรรมกลุ่ม และตัวอย่างงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงของหลักสูตร โดยวิธีวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องของความคิดเห็น (IOC) ของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยการศึกษา จำนวน 3 ท่าน พบว่าค่า IOC มีค่า 0.67-1.00 ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจหลักการพื้นฐานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หลังการอบรมสูกว่าก่อนการอบรมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และครูจำนวน 38 คน หรือร้อยละ 47.50 ของทั้งหมดที่เข้ารับการอบรมสามารถทำการวัยได้สำเร็จสมบูรณ์ และเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับดี ABSTRACT          The research aimed to development the training program in developing the 51 in- service teachers of 5 schools located in Samutrsongkram Educational Service Area were randomly selected. The methods of study were two steps: the action research approach was integrated into the traditional program development means for developing the training program, then the quasi-experiment was for implementing the training program. The research results revealed the training program comprised of (1) the program objectives aimed to develop the fundamental knowledge of classroom action research, the report writing in formal form; (3) a specific time of training curses was 30 hours; (4) the training aids were 6 pocket series on research process, the activity worksheets, slides for presentation, and example of research reports. The developed program was evaluated its validity and practicable by 3 specific experts of curriculum developed and education research which the index of item-objective congruence (IOC) was at 0.67-1.00. The results of 1 academic semester follow up and evaluating revealed the samples cold achieve the post test score of classroom action fundamental knowledge higher than the pretest at 0.05 significant level. And 38 teachers or 47.50% of the samples could complete their research projects which the quality of them were evaluation at good level.

Downloads