การพัฒนาห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา
Keywords:
การเรียน, การทำงานกลุ่มในการศึกษา, การศึกษาขั้นอุดมศึกษา, ห้องเรียนต้นแบบAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา 2) ศึกษาคุณภาพของห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้ห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงในระดับอุดมศึกษา โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน และพัฒนาห้องเรียนต้นแบบเพื่อใช้ในการทดลองสอนวิชาตัดต่อลำดับภาพและเสียงกับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยี การโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรามงคลกรุงเทพ จำนวน 32 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการออกแบบและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริงมีความเหมาะสมของการนำไปใช้ อยู่ในรับมากที่สุด มรค่าเฉลี่ย () กับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .61 2) ด้านคุณภาพของห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริง นักศึกษามีความเห็นคุภาพของห้องเรียนต้นแบบอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวัง มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 2.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กับ .58 3) ด้านความพึงพอใจในการใช้ห้องเรียนต้นแบบสำหรับการเรียนแบบร่วมกันที่เน้นปฏิบัติจริง นักศึกษามรความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () กับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .68 ABSTRACT This research aimed to 1) design and develop the classroom prototype for a Hands-On Collaborative Learning for Higher Education, 2) study of the quality of the classroom prototype for a Hands-On Collaborative Learning for Higher Education and to 3) study of the satisfaction of the xlassroom prototype for a Hands-On Collaborative Learning for Higher Education. In this study , the research had designed a “classroom Prototype for a Hands-On Collaborative Learning Model for Higher Education” through the evaluation from 9 experts and 32 students from video and audio editing subject classroom model trials of Television and Radio Broadcasting Technology Division, the Facuity of Science and Technology at Rajamangala University of Technology Krungthep. By analyzing the mean and standard deviation; the results shows that 1. In term of the Design and Development: the experts evaluated the Hands-On Collaborative Learning Classroom Model at the higher education level of the appropriateness. ( = 4.65, S.D.=.61) 2. In term of the Quality of the Classroom Prototype; the students evaluated the Hands-On Collaborative Learning Classroom Prototype higher education level than expected. ( = 2.20, S.D. = .58) 3. In term of the Satisfaction of the Classroom Prototype; the students evaluated the Hands-On Collaborative Learning Classroom Prototype in a higher education level. ( + 4.39, S.D.= .68)Downloads
Issue
Section
Articles