ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียนในเขตภาคใต้ตอนบน
Keywords:
การตัดสินใจ, การศึกษาทางอาชีพ, โรงเรียนอาชีวศึกษาAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน และเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent Validity) ของปัจจัยและตัวบ่งชี้ดังกล่าวโดยการวิเคราะห์ยืนยันกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group) ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยศึกษาอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดเป็นปัจจัยและตัวบ่งชี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปร ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมซ์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยการตรวจสอบขอผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ได้ค่า S-CVI เท่ากับ .98 และนำมาจัดทำเป็นแบบสอบถาม แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของวอทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน 3 วิทยาลัย ผู้ตอบแบบสอบถามรวม 50 คน เพื่อพาค่าความเชื่อมั่น และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน จาก 24 วิทยาลัย จำนวน 1,050 คน จากนั้นผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการข้างต้นมาสร้างแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 ขอวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตภาคใต้ตอนบน 2 วิทยาลัย จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบวา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียนในเขตภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย 44 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 66.37 เรียงตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยตามลำดับ คือ 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อธิบายความแปรปรวนได้สูงสุด ร้อยละ 43.62 มี 12 ตัวบ่งชี้ 2) สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย อธิบายความแปรปรวนได้รองลงมา คือ ร้อยละ 6.38 มี 9 ตัวบ่งชี้ 3) ครูดี อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 5.61 มี 7 ตัวบ่งชี้ 4) ความสำเร็จของศิษย์เก่า อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 4.04 มี 7 ตัวบ่งชี้ 5) การส่งเสริมของผู้ปกครอง อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 3.57 มี 4 ตัวบ่งชี้ 6) แบรนด์ อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 3.15 มี 5 ตัวบ่งชี้ จากการนำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด ปรากฏว่า มีนัยสำคัญทางสถิติ ทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ทั้ง 44 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง ABSTRACT The purposes of this research were to study factors and indicators affecting decision making of students to study in private vocational college in upper southern of Thailand and to ensure concurrent validity of those indicators. The factors and indicators were determined after an extensive review of literature and in-depth interviews of education specialists. Then, the data were analyzed by using exploratory factor analysis, principal component analysis, and orthogonal varimax rotation. The research instrucment used for collecting data was a five rating scale questionnaire. The S-CVI by 10 education specialists was .9. Then, the questionnaires were tried out with 3 ptivate vocation colleges. The respondents were 50 sample to find reliability by cronbach’ s alpha coefficient. Samples of the study consisted of 1,0551 samples. A questionnaire based on the indicators was given to 50 students from 2 private vocational colleges in the known group. Data analysis was done by using t-test. The finding if this research were 6 factors and 44 indicators of affecting decision marking of students to study in private vocational college in upper southern of Thailand. Loading value ranked from the highest to the lowest included 1) Achievement Motivation with 12 indicators, the highest variance at 43.62% 2) College Environment with 9 indicators, the variance at .38% 3) Good Teacher with 7 indicators, the variance at 5.61% 4X Alumni Achievement with 7 indicators, the variance at 4.04% 5) Parent Support with 4 indicators, the variance at 3.57% and 6) Brand with 5 indicators, the variance at 3.15% The analysis of the indicators to the known groups showed statistical significance. This assured that the 44 indicators were concurrently valid.Downloads
Issue
Section
Articles