การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง “การใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • ชยากานต์ เปี่ยมถาวรพจน์
  • อารมณ์ เพชรชื่น
  • อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์

Keywords:

การศึกษา, หลักสูตร, วิทยาศาสตร์, การใช้พลังงาน, จิตสำนึก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง “การใช้พลังงานอย่างเป็นธรรมชาติ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ ระหว่างก่อนและหลังการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนดอนฉิมพลีพิทยาคม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง “การใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรธรรมชาติ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ one - group pre – post test design วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t – test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เร่อง “การใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสำนึกในการใช้พลังงานของนักเรียนหลังการทดลองใช้หลักสูตรของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to develop an enrichment science curriculum for Mathayomsuksa 3 students on “consumption of energy without jeopardizing the environment” and to compare an achievement of the learning, consumption of energy without jeopardizing the environment between before and after curriculum implementation. The sample used in the research consisted of Mathayomsuksa 3 students of Donchimpleepittayakom School in the second semester of the academic year 2010 and derived by cluster sampling. The research instruments were an enrichment science curriculum for Mathayomsuksa 3 students on “consumption of energy without jeopardizing the environment”, lesson plans, together with achievement test and questionnaires. The data were analyzed by mean, standard deviation and dependent t-test.          The result indicated that the enrichment science curriculum for Mathayomsuksa 3 students on “consumption of energy without jeopardizing the environment” was suitable for Mathayomsuksa 3 students. The comparison between before and after the curriculum implementation indicated that the achievement score and the scientific awareness were statistically different at the .05 level of significance by which the after score higher than that of the before

Downloads