การเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนผังมโนทัศน์วิชาการวิจัยทางการศึกษา เมื่อรูปแบบการตรวจและจำนวนผู้ตรวจต่างกัน

Authors

  • อังคณา กุลนภาดล

Keywords:

ผังมโนทัศน์, การวิจัยทางการศึกษา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ได้นำผังมโนทัศน์มาพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินผลการเรียนรู้วิชาการวิจัยทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนผังมโนทัศน์ และความตรงตามสภาพ เมื่อรูปแบบการตรวจและจำนวนผู้ตรวจต่างกัน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ตรวจซึ่งเป็นผู้สอนรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 4 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการนำผังมโนทัศน์มาใช้สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ แบบประเมินผังมโนทัศน์วิชาการวิจัยทางการศึกษา ผลการวิจัยปรากฏว่า            เมื่อรูปแบบการตรวจต่างกัน แม้จำนวนผู้ตรวจเท่ากันค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของ มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อรูปแบบการตรวจเหมือนกัน แต่จำนวนผู้ตรวจต่างกันค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของ มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนในทุกเงื่อนไขที่ต่างกันมีความตรงตามสภาพสูง และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05            This research utilized concept mapping to evaluate learning achievement in educational research course. The comparison of inference coefficient of concept mapping scores was done when patterns to inspection and the numbers of inspectors were different. The evaluation was extended to compare the validity of results, where patterns of inspection and the numbers of inspectors were different. The samples were divided into two groups, i.e., four inspectors who were teaching in educational research, and 48 students who were enrolling in educational research at Rajanagarindra Rajabhat University in semester 2/2012. The activity arrangement plan, which employed concept mapping, was used as research tool to evaluate a learning achievement, together with an evaluation form of concept mapping pertaining to the educational research.            When varied pattern of inspections while the number of inspectors were the same, the study was found that the inference coefficient was significant difference at the 0.05 level. Similarly, when pattern of inspections were the same while vary the number of inspectors, the study was found that the inference coefficient differences were also statistical significant at the 0.05 level. The scores of every different conditions had high concurrent validity, it was significant difference at the 0.05 level.

Downloads