การศึกษาคุณภาพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก
Keywords:
คุณภาพครู, เขตภาคตะวันออกAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพครูจำแนกตามสถาบันที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงสุด สถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่อยู่ในปัจจุบัน ระดับคะแนนเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรด้านคุณลักษณะของครูที่มีต่อคุณภาพครูด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 26,564 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชครูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 334 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน และข้าราชการครู 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพครูตามสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ .22-.66 และค่าความเชื่อมั่น .94 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) แบบ Hierarchical Stepwise Regression Method ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และในสมรรถนะหลักตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับมาก ส่วนสมรรถนะประจำสายงานจากการปฏิบัติของครูอยู่ในระดับปานกลาง ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก ที่มีสถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่สอนอยู่ในปัจจุบันแตกต่างกัน คุณภาพของครูโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามสมรรถนะหลักตามการรับรู้ของครูทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสมรรถนะประจำสายงานจากการปฏิบัติ พบว่า คุณภาพของครูโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และระดับคะแนนเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคุณภาพครูแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงสุดที่แตกต่างกันคุณภาพครูแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาที่แตกต่างกัน พบว่าคุณภาพครูแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรด้านลักษณะของครูสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพครูตามสมรรถนะหลักได้ร้อยละ 3.40 โดยระดับคะแนนเฉลี่ยของครูที่สำเร็จการศึกษามีอิทธิพลทางบวกกับคุณภาพครูตามสมรรถนะหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรด้านลักษณะของครูสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพครูตามสมรรถนะประจำสายงานได้ร้อยละ 3.90 โดยสถานศึกษาที่ครูปฏิบัติงานปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในเมืองอิทธิพลทางลบกับคุณภาพครูตามสมรรถนะประจำสายงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The research objectives were to study teacher quality under the Office of Basic Education Commission in Eastern Region and to compare teacher’s quality classified by institute of graduation, educational graduation level, school existing location, GPA of Bachelor degree, a number of years for graduation, and to study the influence of teacher characteristic that effecting to teacher quality of core competency and functional competency under the office of Basic Education Commission in Eastern Region. The populations of this research were 26,564 primary and secondary school teachers under the office of Basic Education Commission in Eastern Region. The samples of this research were 334 primary and secondary school teachers under of Basic Education Commission in Eastern Region by stratified random sampling and the performance of interview were 4 school administrators and 20 school teachers by purposive sampling. Research instrument were the set of teacher core competency and functional competency questionnaires which discriminant value coefficient between .22 to .66 and reliability value was .94 and structural interview form. Statistics for data analysis were t-test, One-way ANOVA, and Multiple Regression by the method of Hierarchical Stepwise Regression Method. Research result were as follows: Teacher quality as a whole was found at the medium level and the core competency as perceive by teacher was in high level, but functional competency of teacher performance was at the medium level, meanwhile teachers were teaching in different school existing locations had teacher quality as a whole shown statistically significant difference at the level of .05. When consideration on teacher’s competency had shown no significant difference, but functional competency had shown the teacher quality statistically significant difference at the level of .05. When classified by graduation institute and GPA of Bachelor degree had found teacher quality no statistic significant difference. When classified by educational graduation level had shown teacher quality with no statistically significant difference except the aspect of work oriented achievement with statistic significant difference at the level of .05. When classified by the number of years for graduation had found teacher quality with no statistically significant difference except the aspect of collaboration and participation with community for learning teaching management had found statistically significant difference at the level of .05. Teachers characteristics could describe the co-variance of teacher quality on core competency by 3.40%. The teachers GPA graduation had positive influenced with statistic significant difference at the level of .05. The aspect of teacher characteristic could describe with teacher quality of functional competency by 3.90%. The schools situate in the inner city had negative influence to functional competency of teacher quality with statistic significant difference at the level of .05.Downloads
Issue
Section
Articles