การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาต่อการเพิ่มการคิดแก้ปัญหาทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี
Keywords:
การคิดแก้ปัญหาทางสังคม, ทฤษฎีการยอมรับ, การพัฒนาโปรแกรมAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาต่อการเพิ่มการคิดแก้ปัญหาทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรีและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาต่อการเพิ่มการคิดแก้ปัญหาทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตชั้นปี 1 ของมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนปลาย ที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 60 คน สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินด้วย แบบวัดการคิดแก้ปัญหาทางสังคมแบบสั้นฉบับปรับปรุงและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เริ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบบองเฟอรอนี ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) นิสิตชั้นปี 1 ที่ได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญา มีการคิดแก้ปัญหาทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และนิสิตชั้นปี 1 ในกลุ่มทดลอง มีการคิดแก้ปัญหาทางสังคม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.01) สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกอบรมทฤษฎีการยอมรับและพันธะสัญญา มีประสิทธิภาพในการเพิ่มทักษะการคิดแก้ปัญหาทางสังคมของนิสิตชั้นปี 1 The purposes of this study were to develop Acceptance and Commitment Training Program (ACTP) to enhance social problem solving of undergraduate students and to study the effect of ACTP on enhancing the Social Problem Solving (SPS) of undergraduate students. The sample consisted of 60 freshmen students of Burapha University, who volunteer and willing participate the research project. The sample was divided into two groups: experimental and control group, by a process of simple random sampling. Each group consists of 30 students. They were administered the Social Problem Solving Inventory-Revised Short Form and the experimental group received the ACTP which was designed by the researcher. The research design was a pretest-posttest experimental group design, including follow-up testing after 2 weeks. The data were statistically analyzed by utilizing a repeated measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni procedure. The results revealed that the interaction between the experimental methodology and the duration of the experiment were found significantly (p<.01). The undergraduate students who received the ACTP demonstrated significantly higher SPS score than those which received no training program in the control group in both the post-test and follow-up phases (p<.01). The graduate students in the experimental group had significantly higher SPS score in the post-test and follow up phases than the pre-test phase (p<.01). It was concluded that the ACTP had been effective on enhancing the SPS score of undergraduate students.Downloads
Issue
Section
Articles