The development of critical thinking skills with interdisciplinary approach on the climate change unit for lower secondary students
Keywords:
Critical thinking, Thinking skill, Interdisciplinary approach in education, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ทักษะทางการคิด, การศึกษาในลักษณะสหวิชาAbstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีสหวิทยาการ และประเมินผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ การวิจัยและพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างหน่วยการเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยวิธีสหวิทยาการ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ โดยการวิเคราะห์เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และประเมินผลคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นที่ 2 ขั้นปรับปรุงคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) กับกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเกาะสิเหร่ จำนวน 30 คน โดยได้ทดลองจัดประสบการณ์ตามแผนจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้ โดยการวิจัยเชิงทดลองแบบ Nonrandomized Control group Pretest-Posttest Design และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้ โดยการวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 2 (CPA) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีขั้นของการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ท้าทายและทำให้กระจ่าง ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 3 ประมวลและประเมินข้อมูล ขั้นที่ 4 ลงความเห็นข้อมูล ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้ และขั้นที่ 6 ประเมินความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านทุ่งคา จ.ภูเก็ต ซึ่งมาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากห้องเรียนที่มีคะแนนทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ห้องเรียน จากจำนวน 4 ห้องเรียนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยวิธีสหวิทยาการ และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวทางแบบวัดการคิดชิงวิจารณญาณของคอร์เนล (Cornell Critical Thinking Test Level X) ข้อมูลที่ได้นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบสมมติฐานงานวิจัยโดยใช้ค่าสถิติ t-test ค่าเฉลี่ย t-test ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1)ภายหลังจากการเรียนรู้ด้วยหน่วยการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักเรียนในกลุ่มทดลองมีทักษะความคิดเชิงวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีทักษะความคิดเชิงวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าทักษะความคิดเชิงวิจารณญาณหลังเรียนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purposes of the study were to develop critical thinking skills for lower secondary students by developing the climate change unit with interdisciplinary approach and to evaluate the results of the unit implementation on the students’ critical thinking skills. The research study was conducted through four steps as follow: Step 1: Establishing the climate change unit with interdisciplinary approach for enhancing critical thinking skills, through synthesizing information from texts, journals, and relevant research reports. After that, the unit was efficiency assessed by experts. Step 2: Improvement of the unit qualities. The unit was modified with action research on 30 students (Mattayomsuksa 1) at Kohsirae School. Step 3: Experiment of the unit. The research design for experiment of the unit is Nonrandomized Control group Pretest-Posttest Design. And step 4: Evaluation of the unit. The 2 (CPA) model, the model for enhancing critical thinking skills, was used in the research that consists of 6 steps as follow; step 1: clarification & challenge, step 2: data collection, step 3: judging & processing Information, step 4: inference, step 5: applying knowledge, and step 6: assessment were used in this study. The samples used in the study were Mattayomsuksa 1 students on the second semester of 2013 school year in Banthongkha School. The samples were purposively sampling from two classroom that the critical thinking skills scores of two groups were not different at the 0.05 level of significance. The sample was randomly assigned to form the experimental group (35 students). Another class was the control group (35 students) using the normally learning. The instruments used in the research were the climate change unit with interdisciplinary approach and the critical thinking skills test that adapted from Cornell Critical Thinking Test Level X. The data were analyzed by using mean and standard deviation. Research hypotheses were tested by t-test. The results revealed that: 1.The students’ scores of experimental group in each critical thinking skill and in total mean score after using the revised unit were statistically higher than the students’ mean scores before using the revised unit in the same group at the 0.05 level of significance. 2. The students’ critical thinking skills scores after studying the revised unit of experimental group was significantly different at 0.05 level of significance above the students’ critical thinking skills scores after studying the climate change without using the revised unit of control group.Downloads
Issue
Section
Articles