รูปแบบการจัดทำรายการวิทยุชุมชน จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ชุมพล เสมาขันธ์
  • ภิติยา พงษ์พานิช

Keywords:

รายการวิทยุ, วิทยุชุมชน, พิษณุโลก, วิทยุกระจายเสียง

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. การเสริมสร้างศักยภาพการจัดทำรายการวิทยุชุมชน 2. เพื่อหารูปแบบการจัดทำรายการวิทยุชุมชน ประชากรได้แก่ หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชน กรรมการสถานีวิทยุชุมชนและประชาชนที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3,090 คน กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชน กรรมการสถานีวิทยุชุมชนและประชาชนที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้งานการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยเชิญหัวหน้าสถานีวิทยุชุมชน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 17 คน 2) แบบสังเกตโดยการมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปร่วมดำเนินงานภายในสถานีวิทยุชุมชนจำนวน 1 แห่ง 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตีความ การจำแนกชนิดหมวดหมู่วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะข้อมูล หาความเกี่ยวโยงแต่ละขั้นตอนต่าง ๆ การหาคำอธิบายการสังเคราะห์ และการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย            ผลวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างศักยภาพการจัดทำรายการวิทยุชุมชนประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะการส่งเสริมจรรยาบรรณของบุคลากร 2) การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดแผนงานโครงการ และกิจกรรมการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานของสถานีวิทยุชุมชน 3) การจัดระบบการเรียนรู้ เพื่อให้เอื้อต่อการบริหารนโยบายของสถานีวิทยุชุมชน 4) โครงสร้างที่เหมาะสมของบริบทงานที่สำคัญมีคณะกรรมการดำเนินงานวิทยุชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ มีแรงสนับสนุนจากชุมชนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง 5) การประเมินสรุปผลการดำเนินงาน ควรทำอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายและแง่มุมที่จะประเมินต้องมีหลากหลาย 2. รูปแบบการจัดทำรายการวิทยุชุมชน มีจำนวน 9 ประเภทรายการ ดังนี้ 1) รายการข่าย 2) รายการบทความ 3) รายการสัมภาษณ์ 4) รายการอภิปราย 5) รายการสารคดี 6) รายการนิตยสาร 7) รายการประชาสัมพันธ์ข่าวสารในท้องถิ่น 8) รายการปกิณกะ 9) รายการถ่ายทอดเสียง            The objectives of this research were 1. To reinforce potential of community radio broadcast, 2. to find the community radio broadcast model. The population of this study was 3090 people who are heads of community radio, committee of community radio and the public who listen to the radio program of community radio in Muang District, Phitsnulok Province. The samples were 88 people. The research tools were 1) group discussion form by inviting 17 people who are heads of community radio, public officers, and university lecturers, 2) participatory observation form which included the researcher who got involved in broad casting operation, 3) structured interview by interviewing 88 samples. This procedure, the researcher collected the data by himself. Data were analyzed qualitatively by interpretation, classification, comparative analysis, finding the correlation of each step, finding the explanation of synthesization, and constructing the conclusion.            The findings were as follows: 1. The reinforcement of potential of community radio broadcast comprised 1) personnel development especially reinforcement of personnel’s code of conduct, 2) designating the policy on planning, project, extra activity or strategic plan and community radio operational plan, 3) learning system to effect the policy administration of the community radio broadcast, 4) appropriate structure of the job context; that is, having capable committee, strong support from local administration, 5) operation conclusion should be conducted continually with variety of goals and evaluation. 2. The model of community radio broadcast comprised 9 programs as follows: 1) news, 2) articles, 3) interview, 4) discussion, 5) documentary, 6) magazine, 7) local publicity, 8) miscellaneous, 9) sound broadcasting.

Downloads