การพัฒนาระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนประถมศึกษา

Authors

  • วชิระ พรหมวงศ์
  • วรางคณา โตโพธิ์ไทย

Keywords:

ระบบการเรียนการสอน, การศึกษาขั้นประถม, ภูมิปัญญาชาวบ้าน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนประถมศึกษา และ (2) ประเมินคุณภาพของระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่น การดำเนินการวิจัยมี 7 ขั้น ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 2 สอบถามความต้องการระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นจากครูและนักเรียนจำนวน 761 คน เป็นครูประถมศึกษาจำนวน 377 คน และนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 จำนวน 384 คน ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ขั้นที่ 3 ร่างกรอบแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน ขั้นที่ 4 สอบถามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับร่างกรอบแนวคิด จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ขั้นที่ 5 ยกร่างระบบการเรียนการสอน ขั้นที่ 6 รับรองระบบการเรียนการสอนดังกล่าวโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และขั้นที่ 7 ปรับปรุงระบบการเรียนการสอน หลังจากได้ระบบการเรียนการสอน จากนั้นประเมินคุณภาพของระบบด้วยการทดสอบประสิทธิภาพกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 50 คน ที่เรียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพ 116 จังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียน ครู และภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา            ผลการวิจัย (1) ด้านการพัฒนาระบบ พบว่า ระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนประถมศึกษามี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน ขั้นที่ 2 กำหนดปรัชญาการศึกษาและจุดมุ่งหมายการเรียน ขั้นที่ 3 พัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 4 วางแผนการเรียนการสอน ขั้นที่ 5 เตรียมการเรียนการสอน ขั้นที่ 6 ผลิตชุดการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 7 เผชิญประสบการณ์ และขั้นที่ 8 ประเมินและติดตามการเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบและรับรองการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดี มีความสมบูรณ์ และนำไปใช้ได้ และ (2) ด้านการประเมินคุณภาพของระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการทดลองใช้ พบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียน ครู และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความพึงพอใจต่อระบบการเรียนการสอนอิงภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก            The objectives of this study were two-folds: (1) To develop a Local or Indigenous Wisdom-Based Instructional System (IWBIS) for Primary Education Students; and (2) To assess the quality of the developed Local Wisdom-Based Instructional System for Primary Education Students. The study was conducted in seven steps. (1) Study the knowledge on Local Wisdom-based instructional systems through review of literature and related research; (2) Survey needs of 761 samples, using simple random sampling technique, comprising 377 Primary Education schools teachers and 384 Prathom Suksa 4-5-6 students who were studying in the First Semester of the Academic Year 2013 using questionnaires; (3) Develop the conceptual framework for the IWBIS prototype; (4) Seek experts’ opinions on the conceptual framework of the IWBIS prototype with seven experts; (5) Develop the draft prototype of the IWBIS based on the experts’ recommendation; (6) Verify the quality of the IWBIS prototype by qualified experts, and (7) Revise and improve the final version of IWBIS. After the final IWBIS was obtained, he trial run on quality assessment was conducted with 50 Prathom Five students who were studying at the Second Semester of the Academic Year 2013 at Pasuk Maneejak Mitrapap 116 School in Nontaburi. Research instruments comprised the IWBIS prototype, learning achievement tests, and satisfaction questionnaires. Data were analyzed using frequencies, percentage, E1/E2, t-test, means, and standard deviation.            Research findings: On development of IWBIS, it was found that the IWBIS comprises eight steps: (1) Analyze the School and Community Environment; (2) Define Educational Philosophy and Objectives; (3) Develop IWBIS Curriculum; (4) Develop Lesson Plans; (5) Prepare the IWBIS Instruction; (6) Produce IWBIS Instructional Packages; (7) Provide the IWBIS Experiences; and (8) Evaluate and Follow-ups. The experts reviewed and rated the IWBIS as good and practical. On the evaluation of IWBIS quality through trial run, it was found that the IWBIS packages were efficient at the 80/80 and the students learning achievement was significantly increased at the .05 level, and the satisfaction of the teachers and students towards the IWBIS was at the Highest level.

Downloads