ผลสัมฤทธิ์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านทักษะการพูดโดยการแสดงละครของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์
Keywords:
การสื่อสาร, การพูด, การแสดง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการพูด โดยการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารด้านการพูดโดยใช้การแสดงละครกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์และเพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านการสื่อสารด้านการพูดโดยใช้การแสดงละคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็ยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจำปาศักดิ์ ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยการทำเลือกแบบกลุ่ม (Cluster sampling) จับฉลากเลือกห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการพูด แบบวัดทักษะการพูด แบบวัดเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test independence ผลสัมฤทธิ์ด้านการพูด สำหรับนักศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 กลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กการแสดงละคร ( x̅ = 32.83) สูงกว่ากลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ (X = 26.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการพูดโดยใช้การแสดงละครอยู่ในระดับดี (x̅ = 4.32) The purpose of this research were to compare the English specking achievement of students using dramatization and using conventional teaching, and to study the students’ attitude towards teaching English for communication by education Champasak University. The participants were selected by cluster sampling divided into two group: an experimental group and a control group of 30 each. The research instruments were the dramatization lesson plans, the conventional lesson plans, the English for communication on speaking tests, oral test, and the attitude test towards teaching English for communication by dramatization. The data were analyzed by t-test independence. The result of the study were: the third year English major students at the faculty of education Champasak University who used dramatization achieved in specking (x̅ = 32.83) higher than that of those taught by conventional teaching methods (x = 26.33), statistic significant difference at the .01 level. The students’ attitude toward teaching English for communication by dramatizations was at a higher level. (x̅ = 4.32)Downloads
Issue
Section
Articles