การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการออกแบบย้อนกลับ

Authors

  • วงศ์รวี มีศิริ
  • กีรติ ศรีวิเชียร

Keywords:

การออกแบบย้อนกลับ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการ โดยใช้การบวนการออกแบบย้อนกลับ มีขั้นตอนการพัฒนา ดังนี้ 1) วิเคราะห์ความต้องการของท้องถิ่น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 22 คน ผ็ปกครองนักเรียน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำท้องถิ่นอีก 4 คน รวมทั้งสิ้น 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาในการสนทนา 2)วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูฝ่ายวิชาการและผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแจงนับ 3) ออกแบบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโดยใช้วิธีการออกแบบย้อนกลับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเหมาะสม 5 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงร่างสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง 4) พัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นและเอกสารประกอบหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเหมาะสม 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นและเอกสารการประกอบหลักสูตรวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง 5) ทดลองใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบ้านดาบ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 22 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธทางการเรียน แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติงานและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย ได้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย โครงสร้าง คำอธิบายรายวิชา อัตราการเรียน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล เมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง ปรากฏว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนทักษาะในการปฏิบัตืงานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและนักเรียน มีความพึงพอใจในการเรียนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่บแบบบูรณาการอยู่ในระดับมาก The purpose of this research was to develop integrated local learning by using backward design. The procedures of development were: 1) to analyze local needs including 22 Prathomsuksa six students, 22 parents, 9 school committee, and 4 local leaders as the samples, the tool was the focus group, and the data were analyze by the contents of discussion, 2) to analyze school curriculum including school administrators, teacher working in the academic department and the research as the samples, the tool was the form of analysis related to components of curriculum, and the data were analyzed by the enumeration, 3) to design the contents of local learning by using backward design including 5 experts as the participants, the tool was a questionnaire, and the data were analyzed by using IOC, 4) to develop the contents of local learning and documents of curriculum including 5 experts as the samples, the tool was a set of questionnaire and the data were analyzed by using IOC, and 5) to try out the local learning including 22 Prathomsuksa six students of WatBandab School in academic year 2014, the tool was the achievement test, the observation form of performance skills, and a set of questionnaire, and the statistics used to analyze the data were percentage, mean and standard deviation. The findings showed that the integrated local learning consisted of structure, course descriptions, periods of learning, materials/learning resources, guidelines of learning and teaching management, and evaluation. After the experiment, the achievement of students was higher. The scores of performance skills were higher than the set criteria, and the students were satisfied with the integrated local learning at a high level.

Downloads