การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Authors

  • สุนันทา ศรีบุญนำ
  • สมุทร ชำนาญ
  • สุรัตน์ ไชยชมภู

Keywords:

ผู้นำ, ผู้บริหารโรงเรียน, การจูงใจในการทำงาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์เกี่ยวกับปัจจัยของพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์แรงจู.ใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขค 28 จำแนกตามระดับการศึกษาและขนาดโรงเรียน เขต 28 จำนวน 337 คน จากประชากรจำนวน 2,774 คน ใช้วิธีการแบ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าโดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .39-.77 และ .30-.83 และค่าความเชื่อมั่น .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างวิเคราะห์เป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน งกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำญทางสถิติที่ระดับ .05  5. ปัจจัยของพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X1) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (X2) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (X3) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (X4) สามารถพยากรณ์และส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน (Y) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ได้ร้อยละ 54.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และได้สมการพยากรณ์ในสมการรูปคะแนนดิบดังนี้     Ŷ = 1.866+.049(X1)+.041(X2)+.356(X3)+.114(X4) และสมการรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้   ẑY = .072X1+.062X2+.472X5+170X4 This research aimed to study and compare the leadership behavior of school administrator and teacher’ performance motivation in school and the regression equation the leadership behavior of school administrator that affecting to teacher’ performance motivation in school under the Office of secondary Educational Service Area 28 with separated by the education level and size of school. The sample group consisted of 337 teachers form a population of 2,774 people under the Office of secondary Educational Service Area 28 using the stratified random sampling. The research instrument included the five rating scale questionnaire. The questionnaire had discriminant index of .39-.77 and .30-.83 and the reliability of .93. The statistic used for analyzing the data were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, LSD and stepwise multiple regression analysis. Research finding were:  1. The leadership behavior of school administrator under the Office if secondary Educational Service Area 28 as a whole and individual aspect were at the high level.  2. The teacher’ performance motivation in school under the Office of Secondary Educational Service Area 28 as a whole and individual aspect were at the high level. 3. The leadership behavior of school administrator under the Office of Secondary Educational Service Area 28 with classified by the education level was found no statistically significant difference and with classified by the size of school were statistically significant different at the level of .05 4. The teacher’ performance motivation in school under the Office of Secondary Educational Service Area 28 with classified by the education level and the size of school were statistically significant difference at the level of .05 5. The factor of leadership behavior of school administrator, with were idealized influence (X1) inspiration motivation(X2) intellectual stimulation(X3) and individualized consideration(X4)  were the best predictors of the teacher’ performance motivation in school under the Office of Secondary Educational Service Area 28 by 54.20 percent and statistically significant different at the level of .05. The equation raw score of forecasting was as below  Ŷ = 1.866+.049(X1)+.041(X2)+.356(X3)+.114(X4) And the equation atandardized was as below    ẑY = .072X1+.062X2+.472X5+170X4

Downloads