การจัดการทรัพยากรป่าชุมชนแควระบม-สียัด ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแบบมีส่วนร่วม

Authors

  • ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล

Keywords:

ป่าชุมชน - - ไทย - - ฉะเชิงเทรา, การจัดการป่าไม้ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการป่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความสำนึกเกี่ยวกับคุณค่าและมูลค่าการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืช พันธุ์สัตว์ การจัดทำฐานข้อมูล และฟื้นฟูสภาพป่าชุมชนแควระบม-สียัดในเขตป่าสงวนแห่งชาติของบ้านท่าทองดำ ตำบลทุ่งพระยา อำเภอชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยราชการ จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)ด้านการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนในเขตป่าสงวนคนในชุนชมใช้วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงความสำนึกถึงคุณค่าและมูลค่าการใช้ประโยชน์จากป่า 2)ด้านการสำรวจพรรณพืช พบว่า ป่าชุมชนมีพรรณพืชทั้งไมย้ยืนต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้พุ่ม ไม้เถา และพืชล้มลุก รสม 83 ชนิด ด้านการสำรวจพันธุ์สัตว์ พบว่า มีสัตว์ 38 ชนิด แบ่งเป็น 8 ประเภท การจัดการทำฐานข้อมูลพรรณพืชประกอบด้วย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อท้องถิ่น การใช้ประโยชน์ และส่วนที่ใช้ ฐานข้อมูลสัตว์ประกอบด้วย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อท้องถิ่น ด้านการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ 1)ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ 2)เครื่องมือ ประกอบด้วย การประชุม แผนงาน/โครงการ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)หลักการ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมประชาธิปไตย การทำงานเป็นกลุ่ม การสร้างเครือข่าย 4) การจัดการความรู้ ประกอบด้วย เป้าหมายชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขุมความรู้ The objectives of this research aimed to study the condition of forest management, ways of life, culture, tradition, beliefs, and consciousness of virtue and value of exploitation of community forests. Also, the research emphasized on the study of biological diversity, florae and breed so as to create a database as well as to revive the general condition of community forest in sanctuary area in Ban Tatongdam, TungprayaSubdistrict, Sanamchaikhet District, Chachoengsao Province. This qualitative research was conducted through participation research. Important data was extracted from 30 people: community scholars, local organizations, and government sectors. For the forest resource management, it was found that local people in the community had their own culture tradition and ancient belief relevant to their lifestyle and consciousness of value and virtue of forest exploitation. For the survey of florae in community forest at Ban Tatongdam, it was found that there were 83 species of florae: perennials, trees, bushes, vines, and annuals. For the survey of breed in Ban Tatongdam, it was found that there were 38 kind of animal. For the building of a database of florae and database was created with common names, scientific name, local names, and indication, As for the database of breed, it was created with kinds, common names, scientific names, and local names. For the revival of community forest, it was found that the ten rai forest area and perennials had been aimed to increase. Interestingly, the real participation principles consisted of four elements: 1) Input: local administrative organization public sectors, 2) instrument: meeting, work plan/project, culture tradition, beliefs, local wisdom, 3) Principle: participation, democracy, teamwork, network, and 4) knowledge management: aims of community, knowledge sharing,knowledge Asset.

Downloads