การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554

Authors

  • ทิพย์เกสร บุญอำไพ
  • นุสรา พีระพัฒนพงศ์

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา - - หลักสูตร, การประเมินหลักสูตร, หลักสูตร

Abstract

     การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้วิจัยใช้วิธีการประเมินแบบ CIPP ของ Daniel L. Stufflebeam เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร 4 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร บัณฑิต นิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใชบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา     ผลการวิจัยพบว่า การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยภาพรวม พบว่า อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรบัณฑิต นิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ โดยมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดตามลำดับ ส่วนด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก       The purpose of the research was to evaluate the curriculum on doctor of philosophy program in Educational Technology, Faculty of Education, Burapha University in context, input, process and product. The researcher conducted a curriculum evaluation by using the CIPP Model of Daniel L. Stufflebeam. The data were collected from the routine curriculum instructors, graduates, students of doctoral of philosophy program in Educational Technology and graduates’ employers. The research instruments were the questionnaire and the interview form. The collect data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis.     The results of this research as a whole found that the opinions of routine curriculum instructors, graduates, students of doctoral of philosophy in Educational Technology and graduates’ employers were appropriate at the highest level. When considered in each aspect, found that the evaluation on the context, input, and process were appropriate at the highest level respectively, but the output aspect was at the high level.

Downloads