การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • ยุทธนา คงแหลม
  • สมบัติ นพรัก

Keywords:

ความร่วมมือทางการศึกษา, โรงเรียนมัธยมศึกษา, ความร่วมมือทางวิชาการ

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมธัยมศึกษา      วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เอกสารและสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 2) การสร้างรูปแบบตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยสอบถามความคิดเห็นจากรองผู้อำนายการ หรือครูที่รับผิดชอบงานวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 330 โรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วยสมาชิกเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สถานบันอุดมศึกษาหรืออาชีวศึกษา องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีคณะกรรมการเครือข่าย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2 คน ตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนองค์กรชุมชน 1 คน ตัวแทนองค์กรเอกชน 1 คน ตัวแทนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอาชีวศึกษา 1 คน ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนภายในกลุ่มโรงเรียน 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน และประธานกลุ่มโรงเรียน ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีองค์ประกอบของเครือข่าย จำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้นำเครือยข่าย บทบาทและภาระหน้าที่ของเครือข่าย การปฎิบัติงานของเครือข่าย การเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่าย และการพัฒนาสมาชิกเครือข่าย โดยมีผลการประเมินรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก        The purposes of the research were 1) to study the component of the network model of academic collaboration in secondary school. 2) to invent the network model of academic collaboration in secondary school and test of possibility and utility of the model.      The processes of this study were 1) studying the component of the model was conducted by Analysis and synthesis of the document. The experts were conducted by the Delphi technique. Mode and quartile rang was analyzed. 2) The test of possibility and utility of the invention of the model was conducted by surveying. Data was collected using a questionnaire sent to vice principals and teachers whom were responsibility for academic tasks in 330 school. Data was analyzed by calculating mean and standard deviation.      The finding revealed that:      The network model of academic collaboration in secondary school consists of members of six organization: 1) secondary school groups 2) university or vocational education 3) private organizations 4) community organizations 5) local administrative organization and 6) educational service areas. The network of committees were 15 members: the president who came from the experts, 2 representatives of educational service area, 1 representatives of local administrative organizations, 1 representatives of community organizations, 1 representatives of private organizations, 1 representatives of university or vocational education, 2 representatives of school administrators, 5 representatives of the experts in the area of education, religion, art and culture, the president of the school network whom was assigned to be the secretary of  board. The network consists of  5 components: 1) the attributes of the network leader which consists 2) role and of network 3)the practice of network 4) the empowerment of network and 5) the network development. The network model of academic collaboration in secondary school is possible, highly advantageous.

Downloads