การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องอำนาจตามทัศนะของ Michel Foucault กับการจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในการสร้างตัวตนของผู้เรียนอาชีวศึกษา
Keywords:
การเรียนรู้แบบประสบการณ์, นักเรียนอาชีวศึกษาAbstract
บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างตัวตนของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยปฏิบัติการศึกษาผ่านประสบการณ์” ซึ่งผู้เขียนมีความพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงความแยบยลของอำนาจความรู้ ความจริงในการสร้างตัวตนของผู้เรียนอาชีวศึกษา ที่กระทำการผ่านปฏิบัติการของหลักสูตรการเรียนรู้ซึ่งนำหลักการและเทคนิคการศึกษาผ่านประสบการณ์มาใช้ในการฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนาผู้เรียน เนื่องด้วยเทคนิคและวิธีการของการศึกษาผ่านประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ผ่านการกระทำ ผู้เรียนจะเกิดวงจรการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสะท้อนคิดระหว่างการเรียนรู้ นำไปสู่ความเข้าใจและก่อให้เกิดทักษะและความสามารถแก่ผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ภายใต้ปฏิบัติการดังกล่าวได้เปิดช่องทางให้เทคโนโลยีทางอำนาจเข้ากำกับควบคุมผู้เรียน ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาเชิงคุณภาพ แนวการศึกษาเรื่องเล่าแบบฟูโกต์เดียน ซึ่งนำเรื่องราวเรื่องเล่ามาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ค้นหาการทำงานของอำนาจวินัย จากการศึกษาเชิงลึกของผู้เรียนวิชาชีพ ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าตัวตนของผู้เรียนคือ ความเป็นผู้มีทักษะและสามารถเชิงลึกในสาขาวิชาชีพ อย่างไรก็ตามปฏิบัติการในการเรียนการสอนได้ชี้ให้เห็นความขัดแย้งกับแนวคิดพื้นฐานของการศึกษาผ่านประสบการณ์ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่หลากหลายและศูนย์กลางของการเรียนรู้ This article is a part of a dissertation entitled “The process of student vocational self creation Through experiential learning learning practices”. The author attempts to reveal a subtle manner of power, knowledge and truth in the construction of vocational students self through the practices of vocational curriculum and training techniques. Through vocational curriculums and training techniques base on experiential learning principle in training, correcting, developing the students, it constructs their vocational self. While practicing students realize the circle of learning. It leads to create their skill and abilities. Their practices facilitate the intervention of power to hegemonizes students. The research applies qualitative research approach using Foucauldian narratives to analyze the disciplinary power. By in-depth interviewing of these learners, the preliminary result shows that learners’ identity can be identified as skillful person and highly competent in their profession. However, it suggest a trace of a conflict between the basis of experiential learning, which supports learner’s diverse knowledge and being a center of learning.Downloads
Issue
Section
Articles