การพัฒนาระบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • วาสนา ทวีกุลทรัพย์

Keywords:

ระบบ, การสอนเน้นแบบประสบการณ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของครูและนักเรียนเกี่ยวกับระบบการสอนแบบเน้น ประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียน (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของระบบการ สอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียน (3) สร้างระบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญา ท้องถิ่นสู่โรงเรียน และ (4) ประเมินคุณภาพของระบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียน การดำเนินการวิจัยมี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาให้ได้องค์ความรู้ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบการสอน การสอนแบบเน้นประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 2 ศึกษา ความต้องการระบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่โรงเรียนของครูจำนวน 132 คน และ นักเรียนจำนวน 128 คน ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้มาโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม ขั้นที่ 3 พัฒนากรอบแนวคิดของระบบการสอน ขั้นที่ 4 สนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบสนทนากลุ่มหรือแบบแนวคำถามสัมภาษณ์เกี่ยวกับกรอบแนวคิดของระบบการสอน ขั้นที่ 5 ร่างระบบ การสอน ขั้นที่ 6 ตรวจสอบและรับรองระบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ด้วยแบบประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 7 ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยง เบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ (1) ครูและนักเรียนต้องการระบบการสอนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนเหตุผลที่ ต้องการ คือ ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอนในโรงเรียนไม่ต้องพานักเรียนไปหาภูมิปัญญาท้องถิ่น และช่วยให้ นักเรียนสร้างผลงานได้เหมือนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาสอนโดยตรง และ (2) กรอบแนวคิดของระบบการสอนโดย เฉพาะองค์ประกอบของระบบการสอนมีความชัดเจน ส่วนด้านขั้นตอนมีความสมบูรณ์มีทั้งขั้นตอนหลักและขั้นตอน รองซึ่งครอบคลุมขั้นตอนที่เป็นปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ และสอดคล้องกับองค์ประกอบ (3) ระบบ การสอนแบบเน้นประสบการณ์นำภูมิปัญญาท้องถ่ินสู่โรงเรียนที่พัฒนาข้ึน ประกอบด้วย (3.1) องค์ประกอบด้าน ปัจจัยนำเข้า คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฐานข้อมูล เนื้อหาสาระและประสบการณ์ วัตถุประสงค์ และการเตรียมการองค์ประกอบด้านกระบวนการ คือ การสอนแบบเน้นประสบการณ์ และการดำเนินการสอน และองค์ประกอบด้าน ผลลัพธ์ คือ การประเมิน (3.2) ขั้นตอนของระบบการสอน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 จัดท􀀀าฐานข้อมูลเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และกำหนดเนื้อหา ขั้นที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นที่ 4 คัดเลือกและประสาน งานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 5 เตรียมการสอนร่วมกับครูกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นที่ 6 ดำเนินการสอนแบบเน้น ประสบการณ์โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น และขั้นที่ 7 ประเมินระบบการสอน และ (4) จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่าระบบการสอนมีคุณภาพ มีความชัดเจน มีความเป็นไปได้ และเหมาะกับนำไปใช้ได้ 

Downloads