โมเดลการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต ของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Keywords:
วิชาชีพครู, การพัฒนาวิชาชีพครู, การพัฒนาโมเดล, การพัฒนาทักษะชีวิตAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโมเดลการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูระดับโรงเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถทางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน ด้วยวิธีวิจัยกึ่งทดลองที่มีแบบแผนการทดลองชนิดกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว (one-group posttest-only design) ระยะเวลาทดลองโมเดล 1 ภาคเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 10 แห่ง ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โมเดลการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูระดับโรงเรียน แบบสอบถามความเห็นต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู และแบบทดสอบทักษะชีวิตของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของครูที่เป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด นวัตกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนโดยรวมสามารถพัฒนาผู้เรียนจนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The research was aimed to investigate the effects of the model for developing professional learning community at schools level on research and development instructional innovations to encourage students’ life skills. The quasi-experimental research which one-group posttest only design had been employed for a semester. The samples under study were 10 Opportunity Expansion Schools where purposive selected from schools under the Jurisdiction of Samuthsakorn Primary Educational Service Area Offices. Research instruments were the model for developing professional learning community, rating scaled questionnaire of professional learning characteristics and the target students’ life skills test. The data was analyzed by descriptive statistics and t-test. The findings revealed that the teachers who were members of professional learning community, had their opinions on 5 elements of professional learning community characteristics which could be ranked at satisfied till very satisfied. And the instructional innovations that the schools made could encourage their target students’ score of life skills, so that their posttest scores were higher than the pretest at .05 significant level.Downloads
Issue
Section
Articles