การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนสาขาวิชาและเพศต่างกันในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ

Authors

  • โยติกา ชัยวงษา
  • พรทิพย์ อติชาติ
  • จีระพรรณ สุขศรีงาม

Keywords:

การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์, ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติ, ปรัชญา ครูสอนวิทยาศาสตร์

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูสอนวิทยาศาสตร์ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 71 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนกับครูวิทยาศาสตร์ จำแนกตามเพศและสาขาวิชาขนาด โรงเรียนใหญ่พิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญา วิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 65 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ การรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้ปรัชญา วิทยาศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ F-test (One–way MANOVA และ Two–way MANOVA)         ผลการศึกษาพบว่าครูวิทยาศาสตร์มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16 และ ค่าเฉลี่ย = 4.29) แต่มีการรับรู้คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.09) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.87 และ ค่าเฉลี่ย = 4.03) แต่มีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.47) ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนสาขาวิชาชีววิทยาเพศหญิง มีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากกว่าครูวิทยาศาสตร์ที่สอนสาขาวิชาอื่นๆ แต่ครูวิทยาศาสตร์ที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพศกับสาขาวิชาที่สอนที่เกี่ยวกับการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน ครูวิทยาศาสตร์เพศชายและเพศหญิงมีการรับรู้ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์น้อยกว่านักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง และมีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง แต่มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างจากนักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง          This research aimed to study and compare perceptions of the nature of science, misperceptions about the nature of science and philosophy of science of Mathayomsuksa 6 (M.S.6) science teachers with different sexes and Major and their M.S.6 students in secondary schools in the academic year 2015 under the Officer of Secondary Educational Service Area, Zone 25, in Khon Kean province. The data were collected using a questionnaire consisted of 65 aspects; perceptions of the nature of science 35 items, misperceptions the nature of science 10 items and perceptions the philosophy of science 20 items. The collected data were then analyzed using percentage, mean and standard deviation. The F-test (One-way MANOVA and Two-way MANOVA) were employed to test the stated hypotheses.           The findings reveal that the awareness level of most science teachers regarding the nature of science and philosophy of science was at a high level (average = 4.16 and average = 4.29) However, there were misperceptions about the nature of science at a moderate level (average = 3.09). Level of most Mathayomsuksa 6 students regarding the nature of science and misperceptions about the nature of science (average = 3.87 and average = 4.03), but the science of science was at a moderate level (average = 3.47). Female science teacher whose teach biology there is a perception of science philosophy rather than a science teacher who teaches other disciplines. However, the science teachers with different sexes did not show different perceptions of the nature of science, misperceptions about the nature of science, and perceptions the philosophy of science. There were no statistical interactions of sex with major on these three perceptions. The male and female science teachers showed less perception of misperceptions about the nature of science than male students and female students. In addition the male students and female students showed more perceptions of the philosophy of science. However, perceptions the nature of science of male and female science teachers, male and female students was not found to be different.

Downloads