การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางวัฒนธรรมในกลุ่มนักศึกษาต่างชาติ
Keywords:
ความฉลาดทางวัฒนธรรม, ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอคติเชิงชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวของ นักศึกษาต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักศึกษาต่างชาติ จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดประกอบไปด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา 2) แบบวัดตัวแปรความฉลาดทาง วัฒนธรรม อคติเชิงชาติพันธุ์และความสามารถในการปรับตัว โดยแบบวัดมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 7 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดล ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า (1) ตัวแปรสังเกตได้ทุกคู่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางวัฒนธรรมตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ (3) ความฉลาดทางวัฒนธรรมได้รับอิทธิพลทางตรงจากอคติเชิงชาติพันธุ์ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางวัฒนธรรมได้ร้อยละ 17 และ ความสามารถในการปรับตัวได้รับอิทธิพลทางตรงจากความฉลาดทางวัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลทางอ้อมจาก อคติเชิงชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมและอคติเชิงชาติพันธุ์ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการปรับตัวได้ร้อยละ 82.10 The purposes of this research were to study the effects of ethnocentrism on cultural Intelligence and the effects of cultural intelligence on self - adjustment ability of foreign students. The participants were 341 foreign students. Three questionnaires were used to collect the data on students’ cultural Intelligence, students’ ethnocentrism and students’ self - adjustment ability. The data were analyzed using descriptive statistics, and the model was validated using Structural Equation Model. The research results were (1) The relationship between all pairs of variables was statistically significant at .05 level, (2) the hypothetically causal relationship model of cultural Intelligence fit with the empirical data, and (3) the cultural intelligence was negatively affected by the ethnocentrism at .001 level of significance. The study also revealed that the ethnocentrism could explain 17.00 percent of the variance of cultural Intelligence and the cultural intelligence affected the self -adjustment ability of foreign students at .001 level of significance. The results further show that the ethnocentrism and cultural intelligence could explain 82.10 percent of the variance of self - adjustment ability.Downloads
Issue
Section
Articles