การสร้างลักษณะเฉพาะของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • กุลจิรา ฝุ่นวัง
  • ฤตินันท์ สมุทร์ทัย

Keywords:

ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ, วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, กลุ่มสาระการเรียนรู้, คณิตศาสตร์, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพลักษณะเฉพาะของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อสร้างและหาคุณภาพของข้อสอบที่สร้างตามลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ในด้านความเที่ยงตรง ความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มครูที่สร้างข้อสอบจากลักษณะ เฉพาะของข้อสอบ จำนวน 2 คน และกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสอดคล้องในการสังเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา พฤติกรรมย่อย และระดับพฤติกรรม สาระการเรียนรู้การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสอดคล้องของรูปแบบข้อสอบ แนวคำถาม แนวคำตอบและข้อสอบตัวอย่างของบัตรข้อสอบแต่ละบัตร (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสอดคล้องของคำถามกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของข้อสอบที่คุณครูสร้างขึ้นตามลักษณะเฉพาะของข้อสอบ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและเชิงโครงสร้างของลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบด้านความยากง่ายและอำนาจจำแนก ใช้เทคนิค 25% ด้วยสูตรอย่างง่าย ค่าความเชื่อมั่น คำนวณโดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน และโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีการของครอนบัค         ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้         1.  ได้ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 74 คน ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ซึ่งลักษณะเฉพาะของข้อสอบแต่ละข้อจะถูกกรอกข้อมูล ลงในบัตรข้อสอบ ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ พฤติกรรมย่อย ระดับพฤติกรรมรูปแบบข้อสอบ แนวคำถาม แนวคำตอบที่ถูกหรือตัวถูก แนวคำตอบที่ผิดหรือตัวลวง และข้อสอบตัวอย่าง ครอบคลุม 14 หน่วยการเรียนรู้และ 4 ระดับพฤติกรรม ได้แก่ ความรู้ความจำ จำนวน 39 ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ระดับการนำไปใช้และการวิเคราะห์ จำนวน 14 ลักษณะเฉพาะของข้อสอบและระดับพฤติกรรมความเข้าใจ จำนวน 7 ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ซึ่งลักษณะเฉพาะของข้อสอบทุกบัตรข้อสอบมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ .60 – 1.00         2. ข้อสอบที่สร้างขึ้นจากลักษณะเฉพาะของข้อสอบ โดยผู้วิจัยได้สุ่มจำนวนลักษณะเฉพาะของข้อสอบ จำนวน 23 ลักษณะเฉพาะของข้อสอบโดยยึดพฤติกรรมย่อยที่ต่างกันเป็นเกณฑ์ ซึ่งพฤติกรรมที่นำมาให้ครูสร้างแบบทดสอบจากลักษณะเฉพาะของข้อสอบส่วนใหญ่เป็นลักษณะเฉพาะของข้อสอบที่มีระดับพฤติกรรมความรู้ความจำ จำนวน 16 ข้อ ระดับพฤติกรรมการนำไปใช้ จำนวน 3 ข้อ และระดับพฤติกรรมความเข้าใจและการวิเคราะห์ จำนวน 2 ข้อ โดยครู 2 ท่านและผู้วิจัยสร้างข้อสอบจากลักษณะเฉพาะของข้อสอบ จำนวน 3 ฉบับ โดยแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ใช้รูปแบบข้อสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 21 ข้อ และตอนที่ 2 ใช้รูปแบบข้อสอบอัตนัย (คะแนนเต็ม 9 คะแนน) จำนวน 2 ข้อ รวมฉบับละ 23 ข้อ แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ มีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ คือ ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20 ถึง .80 ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ คือมีค่าตั้งแต่ .20 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้ง 3 ฉบับ มีความเชื่อมั่นสูง คือมีค่าตั้งแต่ .70 ขึ้นไป        The Purpose of this research was to construct and the find efficiency of Item Specification for the Achievement test in Mathematic Learning standard for Grade 1 and study of the quality of Achievement test of Item Specification in the validity, the difficulties, the discrimination power and a reliability. The sample 2 Grade 1 mathematics teachers were trained and studied about measurement and evaluation and 371 Grade 1 students in Office of Chiang Rai Provincial Primary Education Area 4 of the 2016 academic year. The instruments use to collect data were the researcher-constructed (1) Expert opinion questionnaire Learning Objectives, Indicators, Learning Objectives, Content, Behavioral and Behavioral Levels. (2) Expert opinion questionnaire Sample questions, answers, and exams. (3) Expert opinion questionnaire questions and answers of the test takers of Item Specification         The researcher employed a number of statistical to content validity and construct validity use IOC, the difficulties and the discrimination power use 25% technique with simple formula and a reliability use the formula of Kander and Richardson and the alpha coefficients were determined by Cronbach’s method.         The finding of this study were as follows;         1. 74 Item Specification for Grade 1 Mathematic. An Item Specification fill in Item card. An Item card include learning, learning Unit, learning Indicators, learning unit, the purpose is to learn, sub behavior, behavior level, test form, the correct answer, the wrong answer and the sample test. It consists of 14 units of learning and 4 levels of behavior, knowledge 39 item, comprehension 7 item, application 14 item and analysis 14 item. The quality of content validity and construct validity has value .60 – 1.00        2. The Achievement test of Item Specification randomly selected a number of 23 specific with different sub behavior. 4 of behavior levels, knowledge 16 item, application 3 item, comprehension and analysis 2 item. 3 exams by 2 teachers and researcher. The test form has 21 multiple choice and 2 subjective from 23 items,        The good quality in the content validity has value 1.00. The difficulties has value .20 - .80. The discrimination power has value .20 up. And a reliability has value .70 up show the quality of the test is good.

Downloads