การประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตสาขาวิชา ครุศาสตร์เกษตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Keywords:
การประเมินผลการจัดการศึกษา, ครุศาสตร์เกษตร, วิชาชีพครู, ครูเกษตร, ผู้ใช้บัณฑิตAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการจัดการศึกษาของหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร พ.ศ. 2554 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของ บัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการ ปฏิบัติงานของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของสถาบันฯ ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2558 มีทั้งหมด 63 คน ได้รับคืน 50 ฉบับคิดเป็น 79.36 % จากนั้นแยกกลุ่มบัณฑิตที่ทำงาน และส่งแบบประเมินไปให้ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 36 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 24 ฉบับคิดเป็น 66.66 % ทั้งนี้มี บัณฑิตที่ประกอบอาชีพอิสระซึ่งไม่มีนายจ้าง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและ แบบประเมินแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 2 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. บัณฑิตมีความเห็นว่าวัตถุประสงค์หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.95, SD= 0.64) และการประเมินผลการจัดการศึกษาในด้านศึกษาศาสตร์และวิทยาศาสตร์พบว่า บัณฑิตมีความคิดเห็น เกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06, SD= 0.65 และค่าเฉลี่ย = 3.94, SD= 0.64) 2. การประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตกลุ่มสถานศึกษา (TQF 6 ด้าน) พบว่ามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.44, SD= 0.27) และกลุ่มผู้ใช้บัณฑิตกลุ่มสถานประกอบการ (TQF 5 ด้าน) พบว่าในภาพรวมผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.46, SD= 0.28) 3. การศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตตามอัตลักษณ์สถาบัน พบว่าในภาพรวมผู้ใช้ บัณฑิตทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, SD= 0.27) และ (ค่าเฉลี่ย 4.40, SD= 0.24) ตามลำดับ The aims of this research were to: 1) evaluate the implement of Bachelor of Industrial Education Program in Agricultural Education (Revision, 2011), KMITL 2) study the employer’s satisfaction with graduate’s job by TQF and 3) study the employer’s satisfaction with the graduate ’s job performance by KMITL identities. Gather data from 63 graduated in 2015 academic year by questionnaires. If has received 50 persons (79.36%) with 24 (66.66%) graduates who had been employed. The research instruments were the questionnaire and the evaluation form. The data were analyzed by average mean score (average), standard deviation (SD). Results of the study were as follows: 1) The objectives of the curricular program was appropriate at a high level (average = 3.95, SD= 0.64) and the respondents had a high level of opinions about the educational facilitation of Education and Science (average = 4.06, SD= 0.65 and average = 3.94, SD= 0.64). 2) The study revealed the following results. Employers for educational institutes were very satisfied with the graduates (average = 4.44, SD= 0.27) and the second one was employed with those who worked for private agencies was appropriate at a high level (average = 4.46, SD= 0.28). Besides, findings showed that they had a high level of satisfaction with all aspects: 3) Satisfaction result of Employers by characteristic of KMITL’s both group in high level (average = 4.33, SD= 0.27) and (average = 4.40, SD= 0.24)Downloads
Issue
Section
Articles