ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลต่อความหยุ่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าทำงาน ของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

Authors

  • สิริจิตต์ รัตนมุสิก
  • อาดัม นีละไพจิตร
  • วรางคณา รัชตะวรรณ

Keywords:

การให้คำปรึกษารายบุคคล, ความหยุ่นตัว, ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลต่อความหยุ่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าทำงานของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และ 2) เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลต่อความหยุ่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าทำงานของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผลการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวอันเนื่องจากเป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน ที่ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 5 คนเข้ารับการให้คำปรึกษารายบุคคล และกลุ่มควบคุม จำนวน 5 คนไม่ได้รับการให้คำปรึกษา โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความหยุ่นตัวในการเตรียมพร้อมเข้าทำงานของผู้พิการทางทางการเคลื่อนไหว ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทำแบบประเมินก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ Mann-Whitney U test และสถิติ Wilcoxon-signed-rank test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ผู้ได้รับคำปรึกษามีคะแนนความหยุ่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าทำงานมากกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้ได้รับคำปรึกษามีคะแนนความหยุ่นตัวในการเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          This research’s purposes of this study were 1) to study effect of individual counseling program a resilience of Prepare before Getting Back to Work with physical disability and 2) to compare the result of the individual counseling for resilience of Prepare before Getting Back to Work with physical disability program in period of time before the experiment, after the experiment and during the follow up of the experiment. The subjects of the study were the patients who had hemiparesis and paralysis. The subjects were selected by purposive sampling. There were 10 patients, matched into 2 groups: an experimental group and a control group. Each group consisted of 5 patients. The instruments used in this study were The test of resilience of Prepare before Getting Back to Work with Physical Disabilities and the reliability of all the items was 0.87. The data was analyzed using Mann-Whitney U test and Wilcoxon-signed-rank test. The results of the study were as follows; 1) the experimental group had the scores of resilience of Prepare before Getting Back to Work higher than the control group in post-test and follow up with a statistically significant difference at the .01 level. 2) the experimental group has the score of resilience of Prepare before Getting Back to Work in post-test and follow up higher than pre-test with a statistically significant difference at .01 level.

Downloads