การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ และอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Keywords:
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์, การรู้เรื่องคณิตศาสตร์, ลำดับและอนุกรมAbstract
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งในสมถรรนะที่สำคัญในการนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง แต่ผลการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยนั้นยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ดังนั้นงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 36 คน และใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ใบกิจกรรม แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ควรให้ความสำคัญกับการเลือกสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ของนักเรียน หรือมีความน่าสนใจ ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และมีการอภิปรายในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์ ตีความ ประเมินผลลัพธ์ และความรอบคอบในการทำงานของนักเรียน สำหรับผลของการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์พบว่า นักเรียนมีระดับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในระดับ 3-4 นั้น คือ นักเรียนสามารถระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์ได้เหมาะสมและสอดคล้อง สามารถสร้างตัวแปรเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา เลือกใช้หลักการและกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม Mathematical literacy is one of necessary competency to apply mathematics to real-life situations. The results of PISA assessment were demonstrated that the level of mathematical literacy of students in Thailand are below the mean score of OECD. The aims of this research are to study the guidelines for using mathematical modelling that enhance mathematical literacy and study the effect of mathematical modelling process on mathematical literacy in topic of sequences and series for students in grade 11. The participants in this research are 36 students of a school in Phitsanulok. The methodology of this research was classroom action research. The data were collected by using 3 instruments include of worksheets, classroom observation, and mathematical literacy test. The data were analysis by the qualitative content analysis. The research found that the way of teaching through mathematical modelling should emphasize on the situation that close to students’ experiences cooperate with the open-end questions that easily to understand. Students’ discussions are also important that supporting the sharing their thinking process, analysis, interpreting and wisdom. The results of mathematical literacy test showed that students’ mathematical literacy was on level 3-4, which students can identify the problem issues for situations appropriately, define variable for problem solving, choose the mathematical concepts and strategies correctly and also apply the mathematical model to others situation suitably.Downloads
Issue
Section
Articles