ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

Authors

  • กิริยา กุศลส่ง
  • บุปผา ปลื้มสำราญ
  • อนันต์ มาลารัตน์

Keywords:

ทักษะชีวิต, เพศศึกษา, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ระหว่างก่อนและหลังการเข้ารับ โปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังเข้ารับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาค เรียนที่ 1/ 2560 จำนวน 60 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองที่เข้ารับโปรแกรมฯ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่เลือกเรียนวิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นโปรแกรมการ จัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีความเที่ยงตรงตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบทดสอบเรื่องผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจำแนกเป็นแบบทดสอบความรู้เพศศึกษา จำนวน 20ข้อ มีค่าความยาก 0.36 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.28 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่น .85 และแบบทดสอบทักษะชีวิต จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.23 - 0.63 ค่าความเชื่อมั่น .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เข้ารับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพศศึกษาและทักษะชีวิต เท่ากับ 12.93 และ 2.51 ตามลำดับ หลังเข้ารับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.93 และ 3.83 ตามลำดับ 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เข้ารับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม หลังเข้ารับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพศศึกษาและทักษะชีวิตสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่เข้ารับโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตโดยประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม หลังเข้ารับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพศศึกษาและทักษะชีวิตสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนวิชาเลือกอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          This study aims to compare and to investigate the results before and after using participatory learning (PL) in sex education for Thai Grade Eight students at Srinakharinwirot University Demonstration School The participants were divided between the experimental group and the control group. The participants consisted of sixty Grade Eight students at Srinakharinwirot University Demonstration School in the first semester of 2017 academic year with thirty students in the experimental group and for the control group. The treatment were sex education lesson plans using PL validity from the experts. The instrumentation was a Sex Education Proficiency Test which has twenty questions, with a difficulty level of to 0.36 to 0.80, a discrimination of 0.28 to 0.73, and a reliability of .85 and Life Skill Test with twenty questions, discrimination at 0.23 - 0.63 and a reliability of .82. Then data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and a t-test at a 0.5 level of significance.          The results revealed the following:1) The eighth-grade students in the experimental group had mean scores om the Sex Education Proficiency Test and Life Skills Test before receiving the treatment at 12.93 and 2.51 respectively. After they received the treatment, they had a mean score of 16.93 and 3.83 respctively. 2) The eighth-grade students in the experimental group had significantly higher (.05 level) mean scores on the of Sex Education Proficiency Test and Life Skill, Test after reaiving the treatment.3) The eighth-grade students were in the experimental group had significantly higher (.05 level) mean scores on the of Sex Education Proficiency Test and Life Skill Test than the students in control group.

Downloads