THE VALIDATION OF A CAUSAL MODEL OF TEACHER SPIRITUALITY
Keywords:
EQ, Volunteer Mind, Teacher Spirituality, Structural Equation Model, ความฉลาดทางอารมณ์, จิตอาสา, จิตวิญญาณ, โมเดล, สมการโครงสร้างAbstract
This study purposed to validate of a causal model of teacher spirituality of high school students in service area of Roi-Et Rajabhat University. The samples were 1,025 high school students in service area of Roi-Et Rajabhat University which were selected by two-stage random sampling. Research instrument was a questionnaire. The variables consisted of one endogenous latent variables: teacher spirituality; and two exogenous latent variables: emotional quotient, and volunteer mind. Findings revealed that the causal model of teacher spirituality of high school students in service area of Roi-Et Rajabhat University showed model fit to empirical data (Chi-square = 76.737, df = 63, p-value = 0.115, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.015, SRMR = 0.020 and chi-square/df = 1.218). Moreover, the variables in model could explain the variance of teacher spirituality at 49.20 percent. When considering direct effect, it found that emotional quotient and volunteer mind affected on teacher spirituality and emotional quotient affected to volunteer mind which was significantly at the level of .01. In addition, when considering indirect effect, it found that emotional quotient affected on teacher spirituality indirectly through volunteer mind which was statistically significance at .01 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 1,025 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 1 ตัวแปร คือจิตวิญญาณความเป็นครู และตัวแปรภายนอกแฝง 2 ตัวแปร คือ ความฉลาดทางอารมณ์ และจิตอาสา ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 76.737, df = 63, p-value = 0.115, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.015, SRMR = 0.020 และ chi-square/df = 1.218) ทั้งนี้ ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของจิตวิญญาณความเป็นครูได้ร้อยละ 49.20 และเมื่อพิจารณาขนาดอิทธิพลทางตรง พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์และจิตอาสาส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความฉลาดทางอารมณ์ส่งผลต่อจิตอาสา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่าความฉลาดทางอารมณ์ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูในทางอ้อมผ่านจิตอาสา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01Downloads
Issue
Section
Articles