การพัฒนาทักษะลีลาศจังหวะชะชะช่า โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนส่องดาววิทยาคม
Keywords:
การจัดการเรียนรู้, แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน, ทักษะลีลาศ, จังหวะชะชะช่า, การเต้นAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะลีลาศจังหวะชะชะช่าและศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาลีลาศ เรื่อง ทักษะลีลาศจังหวะชะชะช่า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2 โรงเรียนส่องดาววิทยาคม อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะลีลาศ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนวิชาลีลาศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยสถิติทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า คะแนนทักษะลีลาศที่ได้จากการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน รายวิชาลีลาศ เรื่อง ทักษะลีลาศจังหวะชะชะช่า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยอมรับซึ่งกันและกัน The purpose of this research was to develop the rhythmic dance skills of Cha Cha Cha and satisfaction in studying of mathayom suksa six students by using the Peer-Assisted Learning Group. The target group used in the research were 61 mathayom suksa 6/1 and 6/2 students at Song Dao Witthayakhom School, Song Dao District, Sakon Nakhon Province. The research instruments were learning lesson plan, dance skills assessment and satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and t-test dependent test was use to analyze difference between pretest and posttest learning. The research findings found that the students showed skill between pretest and posttest learning was significantly (p<0.05) and satisfaction towards the Peer-Assisted Learning Group of dance subject Cha Cha Cha rhythm dance skills showed there in highest level. Students exchanged, learnt, and accepted each other.Downloads
Issue
Section
Articles