การพัฒนาชุดการเรียนรู้สุขศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Authors

  • อุมาพร โททอง
  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์

Keywords:

ชุดการเรียนรู้, การเรียนรู้สุขศึกษา

Abstract

         งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการเรียนรู้สุขศึกษาและ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้อง จาก 4 ห้อง มีนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า          1. ชุดการเรียนรู้ สุขศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.80/83.72.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80         2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ สุขศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          The purposes of this study were,1) to develop health education learning packages for Prathomsuksa 3 students with the 80/80 2) to study students academic achievement after studying with the health education learning packages for Prathomsuksa 3. The samples in the study Prathomsuksa 3 students at Kasetsart University Laboratory School Multilingual Program Center for Educational Research and Development they were selected by purposive sampling. The instruments in the student comprised of 1) the development of health education learning packages 2) Prathomsuksa 3 students achievement test. The statistic used for data analysis were percentage mean and t-test. The research result were:         1. The development of health education learning packages for Prathomsuksa 3 students had the efficiency level of 82.86/81.00 which met the set criteria 80/80         2. The comparison of the pretest scores and the posttest scores showed that the posttest scores were significant higher than the pretest scores at.05 statistical difference

Downloads

Published

2021-05-12