การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน
Keywords:
การพัฒนา, วิสาหกิจชุมชน, โรงเรียนAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการการจัดการเรียนรู้ การจัดการวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ที่ต่อยอดจากการผลิตของชุมชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โดยใช้การวิจัยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ระยะเวลาที่ทำการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือน เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายเพื่อหาข้อมูลได้แก่ ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน สำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรกร ชุมชน นักวิชาการและกลุ่มวิสาหกิจผู้ประกอบการมะม่วง จำนวน 24 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และหลักสูตรวิชาวิสาหกิจชุมชน ขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนานวัตกรรม 3) การทดลองและการพัฒนา และ 4) การวัดและ ประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้เรื่องการจัดการวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียนต้องตอบสนอง 5 ประการ ดังนี้ 1) ด้าน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) มะม่วงพืชเศรษฐกิจของจังหวัด 3) ด้านความจำเป็นในการพัฒนา วิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน 4) การเตรียมความพร้อมทักษะอาชีพ และ 5) สถานการณ์โรงเรียนกับวิสาหกิจชุมชน 2. ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนในโรงเรียนและหลักสูตรวิสาหกิจชุมชนในโรงเรียน ค่า P.M. จากการ วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคปุยซองค์เท่ากับ 14.38 ซึ่งหมายถึงคุณภาพสูง 3. ออกแบบความคิดสร้างสรรค์ที่ต่อยอดจากการผลิตของชุมชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้ จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เยลลี่มะม่วงเบา วุ้นมะม่วงนมสด มะม่วงอบแห้ง และกล้วยตากพลังงานแสง อาทิตย์ The study of community enterprise development in schools has the objectives of 1) To study the needs of the community enterprise management in schools, 2) To develop the community enterprises in schools, and 3) to design creative products based on the production of communities to develop the community enterprises by using research and development. The research period was from January 2019 to January 2020, the research target groups were divided into 2 groups as follows The first one were network partners consisted of 24 school administrators, teachers, district agriculture offices, farmers, communities, academics, and the second one were mango entrepreneurs. The sample consisted of 12 Mathayom 3 students selected by purposive sampling. Tools used in this research were structured interview forms and Community Enterprise Curriculum. The definition of the 4 research steps are as follows: 1) The study of Basic information 2) The development of the innovation 3) The experiment and development and 4) the measurement and evaluation. The statistics used in data analysis were mean, percentage and standard deviation. The result of the research are as follow. 1. The learning of Community Enterprise Development in school requires these 5 aspects as follows: 1) Policies of the Educational Service Area Office 2) Mango, economic plant of the province 3) The need for community enterprise development in the school 4) Skill preparation for occupations and 5) the situation of schools and community enterprises 2. There has been a community enterprise learning center in the school and the community enterprise curriculum in the school had the quality of the curriculum under Puisance Analysis Technique equal to 14.38, indicating that the community enterprise curriculum was of high quality. 3. The creative products that can be extended from community production to develop community enterprises, are these 4 products consisting of Light mango jelly Mango with fresh milk jelly, dried mango and solar-dried banana.Downloads
Published
2021-05-12
Issue
Section
Articles