ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบสะตีมศึกษา (STEAM EDUCATION) เรื่อง อาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกหินตั้งศึกษาศิลป์

LEARNING ACHIEVEMENT, SCIENTIFIC MIND AND SATISFACTION BY STEAM EDUCATION MODEL IN FOOD AND NUTRIENTS FOR GRADE 6 STUDENTS OF KOKHINTANGSUEKSASIN SCHOOL

Authors

  • ภูธเนศ ม่วงราม
  • แววดาว ดาทอง

Keywords:

สะตีมศึกษา, จิตวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, อาหารและสารอาหาร, STEAM Education, Scientific mind, Learning achievement, Food and nutrients

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและสารอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education 2) ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบ STEAM education กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ใช้การสุ่มแบบ Cluster sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education เรื่องอาหารและสารอาหาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารและสารอาหาร 3) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้การทดสอบแบบที ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และข้อมูลที่ได้จากแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 11.681, p<0.01) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education อยู่ในระดับมาก (average = 3.51, S.D. + 0.11) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (average = 4.18, S.D. + 0.28) แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ STEAM education มีประสิทธิภาพเหมาะกับเนื้อหาและผู้เรียน  This research is an experimental research, the objectives of this research were to 1) compare the learning achievement pretest scores of grade 6 students with studying the food and nutrients by the STEAM Education model with posttest scores 2) evaluate the scientific mind of grade 6 students after studying with STEAM Education model and 3) investigate satisfaction of grade 6 students after learning with the STEAM Education model. Twenty-five students of grade 6 were randomly selected by Cluster sampling as a sample. The research instruments were 1) lesson plans according to the STEAM Education model in title of food and nutrients, 2) learning achievement test on food and nutrients, 3) scientific mind assessment form and 4) satisfaction assessment form. and S.D. were analyzed for all data and t-test dependent were use the compare the different between pretest and posttest scores. The results showed that the learning achievement posttest scores of grades 6 students who have been taught by the STEAM Education model on food and nutrients were statistically significant higher than pretest score at the 0.01 level (t = 11.681, p<0.01). The scientific mind of grade 6 students who have been taught by the STEAM Education model on food and nutrients were in a high level (average = 3.51, S.D. + 0.11). The satisfaction of grade 6 students who have been taught by the STEAM Education model on food and nutrients were in a high level (average = 4.18, S.D. + 0.28). It showed that the STEAM Education model was effective and suitable for content and learners.

References

เจนจิรา สันติไพบูลย์ และ วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 69–85.

ชลิดา อาบสุวรรณ์ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 25–36.

ณัฐพงษ์ เทศทอง (2564). ผลการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th › dspace › bitstream

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(3), 389-403.

นพดล กองศิลป์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่สากลตามแนวทาง STEAM. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 12(2), 46-57.

ภัทราดา เอี่ยมบุญฤทธิ์. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active leaning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.

ภิญโญ วงศ์ทอง. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(1), 94–112.

มัชฌิมา เส็งเล็ก. (2564). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และ จิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(2), 91-103.

มินตรา กระเป๋าทอง. (2561). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. สืบค้นจาก http://ns.nsru.ac.th/

มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษา เพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่องพลังงานรอบตัวเรา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจาก http://www.research.rmutt.ac.th

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

อุทัยวรรณ ปันคำ. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับพื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ของโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลสันต้นมื้อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 123-136.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. David McKay: New York.

Hyeondo, J. & Hyonyong, L. (2017). Development and Application of Scientific Inquiry based STEAM Education Program for Free-Learning Semester in Middle School. Journal of Science Education, 41(3), 334-350.

Jaedon, J. & Hyonyong, L. (2015). The Development and Application of STEAM Education Program based on systems Thinking for High School Students. Journal of the Korean Association for Science Education, 36(6), 1007-1018.

Ortiz, R.J., Greca, M.I. & V.llagra, A.M.L. (2021). Effects of an integrated STEAM approach on the development of competence in primary education students. Journal for the Study of Education and Development. DOI: 10.1080/02103702.2021.1925473

Yakman, G. (2008). STEAM Education: An Overview of creating a model of Integrative education. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Georgette-Yakman-2

Published

2023-05-22