ผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย
THE EFFECTS OF THE SCIENCE ACTIVITIES PROVISION BY USINGENGINEERING DESIGN PROCESS ON YOUNG CHILDREN’S CRITICAL THINKING SKILLS
Keywords:
วิทยาศาสตร์, กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เด็กปฐมวัย, Science, Engineering design process, Critical thinking, Young childrenAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 28 คน 2) เด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 1 (คลองสวนหมาก) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) คู่มือประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม (p < .05) และ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้านหลังการจัดกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 7.05, S.D. = 2.90) สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 1.81, S.D. = 0.57) The purpose of this research was to 1) study knowledge regarding the science activities provision by using Engineering Design Process on young children’s critical thinking skills of early childhood education sophomore, and 2) To study the effects of the science activities provision by using Engineering Design Process on young children’s critical thinking skills. The samples were 28 sophomores who studying in the Early Childhood Education program of Kamphaeng Phet Rajabhat University and 21 Young children who studying in Tessaban 1 (Klongsuanmak) School, Kamphaeng Phet province. The instruments used included 1) knowledge regarding the science activities provision by using Engineering Design Process on young children’s critical thinking skills assessment handbook. 2) The assessment of young children’s critical thinking skills, and 3) The science activities provision by using Engineering Design Process on young children’s critical thinking skills plan. The quantitative and qualitative data were analyzed by mean, standard deviation, t-test, and reflective teaching form. The research results showed that 1) The sophomore who participated in training had posttest mean scores of knowledge regarding the science activities provision by using Engineering Design Process on young children’s critical thinking skills assessment higher than pretest scores (p < .05), and 2) Young children who participated in the science activities provision by using Engineering Design Process had posttest mean scores of children’s critical thinking skills overall and in each aspect (average = 7.05, S.D.=2.90) higher than pretest scores (average = 1.81, S.D. = 0.57).References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊ค.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เจ.เอส. การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
พรพรรณ ไวทยางกูร และคณะ. (2552). วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย. อ้างถึงใน ขัตติยดา ไชยโย, การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สาราเด็ก.
ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.
ภาวินี จิตต์โสภา, ศิรประภา พฤทธิกุล และเชวง ซ้อนบุญ. (2564). ผลการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาล โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 86-102.
รัตนาภรณ์ ทรงนภาวุฒิกุล. (2560). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการใช้คะแนนรูบริค: Scoring rubrics. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 12(1), 1-14.
ฤดีรัตน์ อยู่อาจิน และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2564). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 83-93.
วรัญชลี รอตเรือง, จตุพล ยงศร และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2563). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, (ฉบับเพิ่มเติม), 319-330.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
ศิริพร ธนะทรัพย์ทอง และสาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องเทคนิคการระบายสีน้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(3), 80-92.
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2562). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน, 34(2), 31-40.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 105-122.
อรุณี หรดาล. (2563). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยคิดเป็น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 211-228.
Ennis, R. H. (1985). A logical Basic of Measuring Critical Thinking Skills. Journal of Education Leadership, 43, 45-48.
Isabelle, D. A., Russo, L. & Velazquez-Rojas, A. (2021). Using the engineering design process (EDP) to guide block play in the kindergarten classroom: exploring effects on learning outcomes. International Journal of Play, 10(2), 1-20.
Paul, R. (1993). Teaching critical thinking. California: center of Critical Thinking and Moral Critique. Piaget, Learning Development institute. Building the Scientific Mind (BtSM) an Advanced International colloquium.
McKinney, K., & Heyl, B. (2008). Sociology Through Active Learning. Thousand Oaks, CA: SAGE/Pine Forge Press.
National Aeronautics and Space Administration [NASA]. (2018). Engineering Design Process. Retrieved November 18, 2021 from https://www.nasa.gov/audience/foreducators/best/edp.html.