ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ สามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) จังหวัดเชียงราย

THE EFFECTS OF USING PROBLEM-BASED INSTRUCTION IN THE TOPIC OF NUCLEAR PHYSICS ON ACADEMIC ACHIEVEMENT AND SCIENTIFIC PROBLEM SOLVING ABILITY OF GRADE 12 STUDENTS AT RAJAPRAJANUGHOR 15 (WIANGKAOSAENPUWITTAYAPRASAT) SCHOOL IN CHIANG RAI PROVINCE

Authors

  • ปัณฑารีย์ ถาวรศักดิ์
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
  • ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, Problem-based instruction, Physics achievement, Scientific problem solving ability

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 6 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน รวมนักเรียน ทั้งหมด 58 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และ (4)  แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this research were (1) to compare learning achievements in physics subject of Grade 12 students on Nuclear Physics in problem - based instruction with traditional instruction; (2) to compare the ability of scientific problem solving ability in problem - based instruction with traditional instruction; and (3) to compare scientific problem solving ability before and after learning through problem - based instruction. The research sample consisted of grade 12 students in the science-mathematics learning plan. There were 58 students in 2 classroom selected by cluster random sampling. The research tools were: (1) problem-based learning activity plan in the topic of Nuclear Physics; (2) traditional instruction plan in the topic of Nuclear Physics; (3) Physics learning achievement test; and (4) scientific problem solving ability test. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation and t-test. The results of the research revealed that (1) the learning achievement in physics of the students  in  the  group  that  learned  through  problem-based  instruction  was  significantly  higher than the counterpart learning achievement of the student in the group that learned through the traditional instruction at the .05 level of statistical significance; (2) the scientific problem solving ability of students in the group that learned through problem-based instruction was significantly higher than the counterpart learning achievement of the student in the group that learned through the traditional instruction at the .05 level of statistical significance; and (3) the post-learning scientific problem solving ability score of the students who learned through problem-based instruction was significantly higher than pre-learning counterpart score at the .05 level.

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยพร ศรีวิชัย. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรังสิต.

นิจวรรณ พิมคีรี. (2555). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการ เรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. กรุงเทพฯ: ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.

เวียงสด วงศ์ชัย. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปกปักรักษาธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภิสรา โททอง. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการสอนตามคู่มือของ สสวท. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการวัดความยาว ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(186), 3-5.

สุทธิพงษ์ พงษ์วร. (2552). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการนำมาใช้ในการดำรงชีวิต. นิตยสาร สสวท, 38(163), 7–10.

สุปรียา วงษ์ตระหง่าน. (2546). การจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารข่าวสารกองบริการการศึกษา, 14(101), 1-4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คูมือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการ เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อภิชัย เหล่าพิเดช. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่อง ปัญหาทางสังคมของไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Barrows, H. & Tamblyn, R. (1980). Problem-Based Learning: An approach to medical education. New York: Springer.

Delisle, R. (1997). How to Use Problem–Based Learning in the Classroom. Alexandria, Virgnia: Association for Supervision and Curriculum Development. Journal of Human Resource and Sustainability Studies, 4(1), 118.

Dewey, J. (1993). How we think.: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educational Process. Massachusetts: Health and Company.

Gallagher, S. A. (1997). Problem Based Learning: Where Did It Come from, What Does It Do, and Where Is It Going?, Journal for the Education of the Gifted, 20(4), 332-362.

Hmelo, C.E., & Evensen, D. H. (2000). Problem-Base Learning: Gaining Insights on Learning Interactions Through Multiple of Inquiry. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Piaget, J., Boring, H., Werner, H. S., Langfeld, & Yerkes, R. M. (1952). A History of Psychology in Autobiography, Vol. 4, pp. 237–256). Clark University Press. DOI: https://doi.org/10.1037/11154-011

Downloads

Published

2023-09-18