การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

THE TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT THROUGH LITERATURE-BASED APPROACH WITH REAP STRATEGY TO DEVELOP ANALYTICAL THINKING ABILITY OF ELEVENTH GRADE STUDENTS

Authors

  • อิสริยาภรณ์ พึ่งจิตร
  • กาญจนา วิชญาปกรณ์

Keywords:

วรรณคดีเป็นฐาน, กลวิธี REAP, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, Literature-based approach, REAP strategy, Analytical thinking ability

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test dependent และ t-test One sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, S.D. = 0.65)  The objectives of this research were 1) to compare the Analytical Thinking ability of Eleventh Grade Students before and after Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy, 2) to compare the Analytical Thinking ability of Eleventh Grade Students after Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy with the criteria of 80 percentage, and 3) to study the satisfaction of Eleventh Grade Students by using Literature-Based learning management with REAP strategies. The sample consisted of Eleventh Grade Students in the academic year 2022 at Bangkrathum Pittayakom School, which was obtained by Purposive Sampling. The Research instrument consists of 1) Lesson plan by using Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy, 2) The test Analytical Thinking ability, and 3) Assessment of students’ satisfaction with Literature-Based learning management in conjunction with REAP strategies. The statistics used in data analysis were the average, percentage, standard deviation, t-test dependent and t-test one sample. The results of this research were shown as follows 1) The Analytical Thinking ability of Eleventh Grade Students after Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy was statistically significantly higher than before using it at the .05 level 2)The Analytical Thinking ability of Eleventh Grade Students after Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy was statistically significantly higher than the criteria 80 percent threshold at the .05 level and 3) Eleventh Grade Students satisfaction toward Learning Management through Literature-Based Approach with REAP Strategy was at the highest level. (average = 4.51, S.D. = 0.65)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา วงศ์กรด. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน: แนวคิดแนวทางปฏิบัติ และประเด็นที่ควรพิจารณา. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(2), 95-125.

ณัฐพร สายกฤษณะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านวิเคราะห์และการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3107

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วีรภัทร ศุภรสิงห์. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REAP ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/696/1/gs591130124.pdf

สุนันทา อาจสัตรู. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญถัมภ์ ลำพูน (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1639

สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2562). การคิดวิเคราะห์: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบแวดวงวรรณกรรมร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1), 35-62.

Custodio, B., & Sutton, M. J. (1998). Literature-Based ESL for Secondary School Students. TESOL Journal, 7(5), 19-23.

Marilyn G. Eanet, & Anthony V. Manzo. (1976). REAP - A Strategy for Improving Reading/Writing/Study Skills. Journal of Reading, 19(8), 647-652.

Downloads

Published

2023-09-18