การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสู่การเรียนรู้ ในวิถีใหม่ (New Normal) สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

Development of Mobile Application to Enhance Chinese Communication Skills in a New Way of Learning (New Normal) for Primary School Students at Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 1

Authors

  • ณาตยา สิงห์สุตีน
  • เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต

Keywords:

โมบายแอปพลิเคชัน, ทักษะการสื่อสาร, ภาษาจีน, การเรียนรู้ในวิถีใหม่, Mobile application, Communication skills, Chinese language, New normal learning

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ โมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โมบายแอปพลิเคชัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต1 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากหมู่เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีน และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) ผลวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน ประกอบด้วย หน้าต้อนรับ หน้าหลักประกอบด้วยเมนูบทเรียนที่มีทั้งรูปภาพและเสียงภาษาจีน บทเรียนประกอบด้วย เมนูคำศัพท์ บทสนทนา เรียนรู้ประโยค แบบฝึกหัด เกม และแบบทดสอบ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.43/83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  The objectives of this research were 1) to develop a mobile application and find its efficiency in promoting students’ Chinese communication skills development based on the specific criteria of 75/75; 2) to compare the students’ learning achievements in Chinese communication skills development before and after using the mobile application; and 3) to survey students’ satisfactions towards the use of the mobile application .The research sample was the 30 sixth-grade students at Ban San Khong (Chiang Rai Jaroonrat) School, 1. The Sample Random Sampling Techniques were used to recruit the participants by means of drawing. Data were collected by means of a mobile application, a Chinese communication achievement test, and a satisfaction survey questionnaire. Data were analyzed for descriptive statistics such as percentage, mean (), and standard deviation (S.D.) The findings showed that: 1) The features of the mobile application onsists of welcoming page, front page, and lessons with pictures and Chinese audio. Each lesson has vocabulary lists, dialogues, sentences, exercises, games, and tests. the efficiency value (E1/E2) of the mobile application was at 78.43/83.50, which was higher than the specific criteria of 75/75, and 2) The post-test score of the students’ was higher than the pre-test score with a statistically significant difference at the level of .05, and 3) The overall score of the students’ satisfactions was at the highest level.

References

กานต์พิชชา มะโน. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ KWL PLUS วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภา ผินกลับ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้การ์ดคำศัพท์ทบทวนด้วยตัวเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. รายงานการวิจัย, โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.

ประไพร จันทะบัณฑิต. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์สื่อกสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาจีนแอพพลิเคชั่น. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 4 วันที่ 1 มีนาคม 2559. (หน้า 843-851). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

มูนีเร๊าะ ผดุง และคณะ. (2559). ความพึงพอใจในการใชมัลติมีเดียโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2559). ผลการใช้แอปพลิเคชันสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1030-1045.

สมรัตน์ เรืองอิทธินันท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่มีการนำเสนอผังมโนทัศน์ด้วยภาพ เรื่อง ดาวฤกษ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุกัญญา ธรรมธีระศิษฏ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(14), 194-202.

สุวิมล มธุรส. (2563). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), 266-278.

Zhong, B. (2562). ทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(5), 1-15.

Pan, L. & Seargeant, P. (2012). Is English a threat to Chinese language and culture?. English Today, 28(03), 60-66.

Downloads

Published

2024-01-09