การพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษา
School Vision-Based Social Studies Curriculum Development
Keywords:
การพัฒนาหลักสูตร, สังคมศึกษา, วิสัยทัศน์สถานศึกษา, Curriculum development, Social studies, School visionAbstract
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาเป็นการตกผลึกของความปรารถนาและมุ่งหวังของโรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งยังเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาที่นำมาใช้เป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของผู้เรียน งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาและประเมินผลหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษาผ่านการลงมือปฏิบัติร่วมกันของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ โดยเริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องกับคณะครู กำหนดวัตถุประสงค์ จุดเน้น สมรรถนะสำคัญ และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงจุดเน้นในวิสัยทัศน์สถานศึกษา ธรรมชาติและเป้าหมายของวิชาสังคมศึกษาในการพัฒนาพลเมือง มีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรและพัฒนารายวิชาพื้นฐาน จำนวน 28 รายวิชา โดยเริ่มจากการกำหนดประเด็น (Theme) ประจำรายวิชาที่ส่งเสริมการบูรณาการ สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชา คำนึงถึงบริบทของผู้เรียน จากนั้นพัฒนาคำอธิบายรายวิชาที่กระชับ เป็นเหตุเป็นผล สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ในวิชานั้น ๆ กำหนดชื่อวิชาที่สอดคล้องกับจุดเน้นและเป้าหมายรายวิชา แล้วนำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของหลักสูตร จากนั้นนำไปให้ผู้บริหารหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 10 ท่าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา โรงเรียนบางกะปิ จำนวน 25 ท่าน ประเมินผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตร ซึ่งผลการวิจัยพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก School vision is the crystallization of the desires and hopes of a school, a community, and a nation. It is also the goal of the school to develop students, which can be based on curriculum development in line with the specific context of students. This research aims to develop and evaluate school vision based-social studies curriculum through the joint action of teachers in the social studies department at Bangkapi School. It starts with conveying the right concepts for teachers, then defining objectives, curriculum focus, school competencies, and learning outcomes in accordance with each other considering the focus of the school vision, as well as the nature and goals of the social studies course in terms of citizen development, to determine the structure of the curriculum and develop 28 courses, to set the theme for each course that promotes integration consistent with the nature of the course, taking into account the context of the learners, developing concise, rational course descriptions that reflect the learning outcomes that students will be developed in that course and define course names that are consistent with the focus and goals of the course. Then, the developed curriculum was sent to a focus group with 6 experts to consider the consistency and suitability of the curriculum. Then, the complete curriculum was brought to 10 school curriculum administrators and 25 promoters of education in Bangkapi School to evaluate the suitability and feasibility of the curriculum. The results indicated that the curriculum was appropriate at the highest level and that the curriculum had the possibility of being applied at a high level.References
คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางกะปิ. (2565). เอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบางกะปิ พุทธศักราช 2565. กรุงเทพฯ: โรงเรียนบางกะปิ.
งานประชาสัมพันธ์โรงเรียนบางกะปิ. (2565). โรงเรียนบางกะปิ. สืบค้นจาก http://bangkapi.ac.th/
จิรัสสา ไสยแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 161 - 167.
ดรุณี จำปาทอง. (2560). สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 121-135.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2564). สังคมศึกษา: ยุคมาตรฐานกำกับ. กรุงเทพฯ: โรจนพริ้นท์ติ้ง.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 116 ตอนที่ 74ก, น. 1-23).
วิไลลักษณ์ แก้วอุ่นเรือน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), 91-97.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Allen, K. A., & Kern, P. (2018). School vision and mission statements should not be dismissed as empty words. Retrieved from https://theconversation.com/school-vision-and-mission-statements-should-not-be-dismissed-as-empty-words-97375
Brown, D. J. (1990). Decentralization and School-based Management. Basingstoke: Taylor & Francis.
Burnham, J. W. (2010). Why vision? Retrieved from http://www.is-toolkit.com/knowledge_library/kl_files/WhyVision_JohnWestBurnham
Edge, K. (2000). School - Based Management. Washington, D.C.: Worldbank.
Fullan, M., & Watson, N. (2000). School-Based Management: Reconceptualizing to Improve Learning Outcomes. School Effectiveness and School Improvement, 11(4), 453-473.
Golod, A. (2014). Common Core: Myths and Facts. Retrieved from https://www.usnews.com/news/special-reports/a-guide-to-common-core/articles/2014/03/04/common-core-myths-and-facts
Greene, P. (2014). Common Core -- Curriculum or Not? Retrieved from https://www.huffpost.com/entry/common-core-curriculum-standards_b_5297876
Kochhar, S. K. (2009). Teaching of social studies (20nd ed.). New Delhi: Sterling Publisher.
McTighe, J., & Wiggins, G. (2012). Common Core Big Idea Series 2: The Standards Are Not Curriculum. Retrieved from https://www.edutopia.org/blog/common-core-standards-not-curriculum-jay-mctighe-grant-wiggins
Missouri Department of Elementary and Secondary Education. (2019). Missouri Schoolwide Positive Behavior Support Tier 1 Implementation Guide. Missouri: University of Missouri.
National Council for the Social Studies. (2002). National Standards for Social Studies Teachers. Maryland: NCSS Publications.
National Council for the Social Studies. (2010). National Curriculum Standards for Social Studies: A Framework for Teaching, Learning, and Assessment (2nd ed.). Maryland: NCSS Publications.
Wallace, R. C., Engel, D. E., & Mooney, J. E. (1997). The learning school: a guide to vision-based leadership. Thousand Oaks, Calif.: Corwin Press.