เส้นทางชีวิตคนเร่ร่อน : การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยาประสบการณ์คนเร่ร่อนเขตเมืองหลวง

Life Trajectory of the Homeless: A Phenomenological Study of the Homeless's Experience in Capital Area

Authors

  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

เส้นทางชีวิต , คนเร่ร่อน, ปรากฏการณ์วิทยา, LIFE TRAJECTORY , HOMELESS, PHENOMENOLOGY

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจการให้ความหมายการดำเนินชีวิตของคนเร่ร่อน เป็นการศึกษาโดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยาเชิงอุตรวิสัย ของ Husserl และใช้วิธีวิเคราะห์ปรากฏการณ์ตามแนว Moustakas โดยเริ่มจากการสำรวจตนเองของผู้วิจัยเพื่อพักมูลบท อันเป็นความรู้ ความเชื่อเดิมของผู้วิจัย เพื่อที่จะละวางอคติหรือหลีกเลี่ยงการตั้งสมมติฐานการวิจัยล่วงหน้า จากนั้นได้ทำการทบทวนข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเก็บรวบรวม ทำการจำกัดขอบเขตข้อมูล โดยเลือกเฉพาะประโยคข้อความสำคัญที่สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย และทำการกำหนดกลุ่มความหมายหรือประเด็นสำคัญ โดยในแต่ละประเด็นจะคงไว้เฉพาะข้อมูลสำคัญที่ไม่มีความซ้ำซ้อนกัน เพื่อพรรณนาถึงความหมายประสบการณ์เร่ร่อน ตลอดจนการใช้ชีวิตเร่ร่อนภายใต้บริบทและเงื่อนไขต่างๆ รูปแบบการพรรณนา ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงประสบการณ์ก่อนเข้าสู่ชีวิตเร่ร่อน และช่วงประสบการณ์ใช้ชีวิตเร่ร่อน โดยจะมุ่งพรรณนาใน 2 ลักษณะคือ การให้ความหมายเชิงถ้อยคำ และการให้ความหมายเชิงโครงสร้าง เกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทั้งสองช่วง จากการวิจัย แก่นสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาคือ ความเป็นตัว ซึ่งเชื่อมโยงกับความหมายเชิงข้อความ ความหมายเชิงโครงสร้างตามการรับรู้ประสบการณ์ของคนเร่ร่อน ทั้งนี้เงื่อนไขดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่าอะไรทำให้บุคคลเข้าสู่ชีวิตคนเร่ร่อน และพวกเขาเหล่านั้นเผชิญประสบการณ์ชีวิตเร่ร่อนอย่างไร นอกจากนั้นการเข้าใจบริบท และเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดการบูรณาการไปสู่การกำหนดข้อเสนอแนะ เชิงนโยบาย เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการใช้ชีวิตเร่ร่อน ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อคนเร่ร่อนเอง และต่อสังคมเป็นสำคัญ  This research was several approaches exist for organizing and analyzing data in a phenomenological qualitative study. Transcendental Phenomenology, based on principle identified by Husserl and Translate to qualitative method by Moustakas. Horizonalization by selecting the Significant Statement in Consistent with the research problems and to define the meaning or Themes in each issue will remain important information not only overlap to descriptive the meaning and experience homeless life of homeless context and various forms. The research is divided into 2 sessions include a range of life experience before entering the street and Experience the homeless life will focus on two types of descriptive textural meaning and the structural meaning about both the phenomenon. Research indicates that the essence of this study was “self" which is associated with textural and structural meaning of analysis of the experiences of people living on the condition that clearly understand what makes a person who wanders into the life and face them than what the homeless life experiences. Understand the context and conditions of these will allow integration to determine recommended policy for the development and improvement of the living homeless to go in the right direction, benefiting people living on themselves and to society.

Downloads

Published

2024-03-12