การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในตนเองของครู

A Confirmatory Factor Analysis of Teacher Self-Efficacy Perceptions

Authors

  • สายใจ อินทรณรงค์

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การรับรู้ความสามารถในตนเองของครู, Confirmatory factor analysis, Teacher self-efficacy perceptions

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในตนเองของครูและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2552 จำนวน 420 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเองของครู วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรับรู้ความสามารถในตนเองของครู ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรม LISREL8.72 และโปรแกรม AMOS 16 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การรับรู้ความสามารถในตนเองของครู ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ ประกอบคือ ความสามารถด้านการสร้างบรรยากาศทางบวกในโรงเรียน ความสามารถด้านการจัดระเบียบวินัย ความสามารถด้านการสอน ความสามารถด้านสร้างความร่วมมือจากผู้ปกครอง ความสามารถด้านสร้างความร่วมมือจากชุมชน ความสามารถด้านการตัดสินใจ และความสามารถด้านการใช้แหล่งทรัพยากร  2. ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการรับรู้ความสามารถในตนเองของครู พบว่า โมเดลสองระดับแบบ ปกติที่ข้อคำถามได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากองค์ประกอบอันดับสอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี ค่า /df- 1.74 RMSEA =0.04, RMR = 0.06, CFI = 0.99 และโมเดลสองระดับที่ข้อคำถามได้รับอิทธิพลตรงจาก องค์ประกอบอันดับสอง มีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า /df= 1.60 RMSEA -0.03, RMR = 0.05, CFI = 0.95  3. ผลการเปรียบเทียบความสอดคล้องของโมเดล พบว่า โมเดลสองระดับที่ข้อคำถามได้รับอิทธิพลตรงจากองค์ประกอบอันดับสอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลสองระดับแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 โดยมีค่าผลต่างไค-สแควร์ = 194.17 ผลต่างองศาอิสระ = 38  The purpose of this study was to develop and validate a model of teacher self-efficacy perception, and related literatures. The Sample consisted of 420 teachers in schools under Chonburi Education Service Area of the 2009 academic year. The research instrument teacher was a Self-efficacy questionnaire. Descriptive statistics were derived by using SPSS. While the second order confirmatory factor analysis validity were conducted by applying LISEL 8.72 and AMOS 16 The results were as follows: 1. The Self – efficacy of teacher consisted of 7 factor according to priority of factor loading as following: Efficacy to Create a Positive School Climate, Disciplinary Self- Efficacy, Instructional Self-Efficacy, Efficacy to Enlist parental Involvement, Efficacy to Enlist Community Involvement, Efficacy to Decision making Efficacy to School Resources.  2. The construct validation of model factor analysis second order normal form Item have influence indirect indicated relative fit of model provided /df = 1.74 RMSEA € 0.04, RMR = 0.06, CFI = 0.99 The two-level model that was directly influenced by the secondary model provided a good fit with /df = 1.60, RMSEA = 0.03, RMR = 0.05, CFI = 0.95 3. The result compare relative fit for model. The validation of the model revealed that model A two-level Item have influenced direct form Factor analysis second order relative fit of model based on that factor analysis second order normal form with statistical significance at .01 level. provided /df = 1.74 df = 38

Downloads

Published

2024-03-12