การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอคุระบุรี เขตพื้นที่การศึกษาพังงา
School Academic Administration in Kuraburi District, Phang-Nga Educational Region
Keywords:
การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน , เขตพื้นที่การศึกษาพังงา, School Academic Administration, Phang-Nga Educational RegionAbstract
การศึกษาเรื่อง การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอคุระบุรี เขตพื้นที่การศึกษาพังงา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอคุระบุรี เขตพื้นที่การศึกษาพังงา การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในอำเภอคุระบุรี จำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ส่วนการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและรองผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอคุระบุรี เขตพื้นที่การศึกษาพังงา ในภาพรวมนั้นอยู่ ในระดับการปฏิบัติมาก ค่าเฉลี่ย 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับการปฏิบัติมากเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่วนด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นลำดับสุดท้าย 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ 1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เพราะการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความสําคัญต่องานด้านการเรียนการสอน การจัดการศึกษาจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อยู่ที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยเฉพาะควรให้ความสําคัญด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนอย่างจริงจัง 2) พัฒนาการนิเทศการศึกษา อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีการพัฒนาและพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีมาตรฐานที่แน่นอน This study explored situations and ways for academic administration development in schools in Kuraburi District within Phang-Nga Educational Service Area. Data collection derived from a questionnaire and an interview. The questionnaire was distributed to 138 teachers, and 5 teachers participated in an interview to gain their perceptions about ways for schools' academic administration development. Data analysis used was descriptive statistics, including frequency, percentage, means, and standard deviation whereas content analysis was used for the interview. The above results could lead to two ways for development in academic administration as followed: 1.) Regarding development of learning processes, learner-centred approach should be enhanced. This is because learning and teaching management could indicate the success of education management. 2.) Concerning educational supervision, there should be consistency and on-going practice. This would influence teachers' development; moreover, teachers will be prepared for unexpected changes.Downloads
Published
2024-03-14
Issue
Section
Articles