การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับการใช้กิจกรรมการสอนตามคู่มือครู

Comparisons of Learning Achievement and Critical Thinking of Matthayomsuksa 1 Students Using Yonisomanasikara Teaching Activities and Using Teacher's Handbook Activities

Authors

  • ปราโมทย์ อาจวิชัย
  • พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์

Keywords:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ , โยนิโสมนสิการ , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Critical thinking , Yonisomanasikara, Achievement

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการ สอนแบบโยนิโสมนสิการกับการใช้กิจกรรมการสอนตามคู่มือครู และเพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับการใช้กิจกรรมการสอนตามคู่มือครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องอบายมุข 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 76 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Hoteling's TP  ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการสอนแบบโยนิโสมนสิการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการสอนตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน ไม่แตกต่างกัน 3. นักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนแบบโยนิโสมนสิการ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  The purposes of this study were: 1) to compare learning achievement of Matthayomsuksa 1 (grade 7) students between before and after learning by using Yonisomanasakara teaching activities and using the teacher's handbook teaching activities, 2) to compare critical thinking before experimenting and after experimenting of two Groups. The instruments used in the study were: 1) plans for organization of social studies teaching activities in the Buddhism learning strand entitled Abayamuk 6, 2) an achievement test, and 3) a critical thinking test. The sample used in the study consisted of 80 Matthayomsuksa 1 students attending Chiang Yuen Phitthayakhom School in the second semester of the academic year 2007, obtained using the cluster random sampling technique. The statistics used for analyzing the collected data were percentage mean, and standard deviation and t-test and Hotelling's T2 were employed for testing hypotheses. The results of the study were as follows: 1. The students in the showed gains in learning achievement and critical thinking from before learning at the .01 level of significance.  2. The students in the control group showed gains in learning achievement before learning at the .01 level of significance; however, they did not show gain in critical thinking from before learning.)  3. The students in the experimental group indicated higher learning achievement in the social studies course and higher critical thinking than those in the control group at the .01 level of significance.

Downloads

Published

2024-03-14