การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงในวิชาความผิดปกติดุล กรดด่างและอิเล็คโตรลัยท์ ของนักเรียนพยาบาลวิสัญญี ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Latent Growth Curve Analysis of Acid Base and Electrolytes Disturbance in Nurse Anesthetist Students, Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Authors

  • พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล
  • สมถวิล วิจิตรวรรณา
  • ปาริชาต อภิเดชากุล
  • สุธิศา ฉมาดล
  • พรทิพย์ มหัตนิรันดร์กุล
  • สุภาณดี จันต๊ะคาด

Keywords:

การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง, การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง , อัตราพัฒนาการแบบแผน, Latent growth curve analysis, Structural equation modeling (SEM), Growth rate, Linear curve

Abstract

การศึกษาคะแนนพัฒนาการกับประชากรซึ่งเป็นนักเรียนพยาบาลวิสัญญี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 32 คน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถเดิมและอัตราพัฒนาการในรูปคะแนนจริง 2) ค่าน้ำหนัก องค์ประกอบจากอัตราพัฒนาการ 3) ความแปรปรวนของคะแนนความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น และ 4) ความสัมพันธ์ของความสามารถเดิมกับอัตราพัฒนาการ ด้วยเครื่องมือซึ่งเป็นแบบทดสอบ จำนวน 4 ฉบับ สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรมเดียวกัน ทำการสอบวัดจำนวน 4 ครั้ง ระยะห่างกันช่วงละ 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงด้วยโปรแกรมลิสเรล  ผลการวิจัยพบว่า ในการสอบวัดทั้ง 4 ครั้ง ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยและคะแนนสูงสุดเพิ่มขึ้นตามลำดับ ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของความสามารถเดิมเท่ากับ 9.35 (ความแปรปรวน 2.12) อัตราพัฒนาการเท่ากับ 5.60 (ความแปรปรวน 3.14) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความ สามารถเดิม และอัตราพัฒนาการเท่ากับ 0.22 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากอัตราพัฒนาการเท่ากับ 0, 1, 1.65 และ 1.90 และความแปรปรวนของคะแนนความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 6.26, 15.52, 6.31 และ 5.24 ตามลำดับ สรุป การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงมีลักษณะแบบแผนเชิงเส้นตรง และเป็นโมเดลที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการอธิบายความสามารถเดิม อัตราพัฒนาการ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ และความแปรปรวนของคะแนนความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในการทดสอบความรู้ของผู้เรียน  A study of growth scores was performed in a population of 32 nurse anesthetist students, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. The objectives were to investigate 1) the true initial and true growth rate 2) the factors loading from the growth rate 3) error variances and 4) relationship between the true initial and true growth rate. Four tests under the same behavioral objectives were obtained through four repeated longitudinal measurements with a two-week interval design. Eventually, we had accomplished data collection and latent growth curve analysis by using the LISREL program.  It was found that the students showed an increase in average scores and maximum scores while coefficient of variation tend to decrease steadily. The true initial was 9.35 (variance 2.12), the true growth rate was 5.60 (variance 3.14) whereas correlation coefficient between the true initial and true growth rate was 0.22. Factors loading from true initial were 0, 1, 1.65 and 1.90; error variances, 6.26, 15.52, 6.31 and 5.24 respectively. In summary, the latent growth curve analysis showed a linear pattern and fit a model with a potential to verify the true initial, the true growth rate, factors loading and error variances.

Downloads

Published

2024-03-15